หลักการทั่วไปในการพูด

23:27 Unknown 0 Comments


 
หลักการทั่วไปในการเตรียมตัวเพื่อเป็นนักพูดที่ดี]

                เท่าที่ผ่านมามีนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ให้หลักเกณฑ์สำหรับการฝึกฝนการพูดเอาไว้มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่งมีสารประโยชน์ ทั้งสิ้น แต่เนื่องจาก เนื้อที่ในหนังสือเล่มนี้มีจำกัด ผู้เรียบรียงจึงใคร่ของนำเสนอเฉพาะหลักการฝึกฝนการพูดของนักวิชาการบางท่านที่น่าสนใจ และไม่ยุ่งยากในการทำควรเข้าใจ อาทิเช่น

. หลักสิบประการของสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

.๑ จงเตรียมพร้อม

.๒ จงเชื่อมั่นในตนเอง

.๓ จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย

.๔ จงพูดโดยใช้เสียงอันเป็นธรรมชาติ

.๕ จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ

.๖ จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด

.๗ จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ

.๘ จงใช้อารมณ์ขัน

.๙ จงจริงใจ

.๑๐ จงหมั่นฝึกฝน

 

. หลักเบื้องต้นเจ็ดประการ ของ ซาเร์ทท์ และ ฟอสเตอร์

                ซาเร์ทท์ (Sareet) และ ฟอสเตอร์ (Foster) ได้ให้หลักเบื้องต้น ๗ ประการสำหรับฝึกในการพูดไว้ดังต่อไปนี้

.๑ การพูดที่ดีมิใช่เป็นการแสดง แต่เป็นการสื่อความหมาย

.๒ ผลสำคัญของการพูดที่ดี ก็คือ การสร้างปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ฟังได้สำเร็จ

.๓ ผู้พูดที่ดีย่อมรู้จัดวิธีการต่างๆ ในการพูดเพื่อที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความใส่ใจอย่างเต็มที่เมื่อผู้พูดต้องการ

.๔ การพูดที่ดีต้องมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ตรงไปตรงมาง่ายๆ เป็นกันเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

.๕ ผู้พูดที่สามารถ คือ บุคคลที่สามารถเป็นผู้มีเสถียรภาพทางอารมณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและต่อผู้ฟัง

.๖ การที่ผู้ฟังจะมีความรู้สึกประทับใจอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้พูดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะต่างๆ ในตัวผู้พูดเอง

โดนเฉพาะลักษณะที่ ไม่ใคร่ปรากฏ เด่นชัด

.๗ อิริยาบถที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่ช่วยทำให้เกิดการพูดนั้น ๆ เป็นการพูดที่ดี

 

. หลักบันได ๗ ขั้นของการพูด ของ ดร.นิพนธ์ ศศิธร

                ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้กล่าวถึงบันได ๗ ขั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้

.๑ การรวบรวมเนื้อหาที่จะพูด

.๒ การจัดระเบียบเรื่อง

.๓ การหาข้อความอื่นๆ มาประกอบหรือขยายความออกไป

.๔ การเตรียมอารัมภบทหรือบทนำ

.๕ การเตรียมบทสรุป

.๖ การซักซ้อมการพูด

.๗ การแสดงการพูด

                ซึ่งบันไดทั้ง ๗ ขั้นของการพูดข้างต้น มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ผู้เรียบเรียงจึงขอสรุปและเรียบเรียงมาไว้ ให้เห็นพอสังเขปดังนี้

 

บันไดขั้นที่หนึ่ง : การรวบรวมเนื้อหาสาระที่จะพูด

                ความสำเร็จในการพูดอยู่ที่การผสมกลมกลืนอย่างแนบสนิทระหว่างความรู้สึกและเหตุผล ดังนั้น การเตรียมตัวที่ดี จึงควรเริ่มต้นจากข้อกำหนดและความคิดเห็นของผู้พูดเสียก่อน แล้วเอาสิ่งเหล่านี้มาทำเป็นโครงร่างไว้ จากนั้นจึงค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอื่นๆ มาประกอบให้สมบูรณ์ต่อไป บันไดขั้นที่ ๑ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

. เริ่มต้นด้วยความคิดก่อนว่าในเรื่องที่จะพูดก่อนนั้นมีเนื้อหาอะไรบ้างที่รู้ดีอยู่แล้ว และยังมีอะไรอีกบ้างที่ยังไม่รู้และจะต้องค้นคว้าต่อไป

. รวบรวมเนื้อหาจากการสังเกตการณ์ การสังเกตการณ์ที่ดีจะต้องกระทำด้วยตนเองโดยตรงอย่างครบถ้วน ถูกต้องแม่นยำ และปราศจากความลำเอียง ต้องสามารถแยกจุดเด่นจากการสังเกตการณ์ที่ได้มาให้ได้   

. รวบรวมเนื้อหาจากการติดต่อกับบุคคลอื่น โดยการสนทนา การสัมภาษณ์ หรือการติดต่อทางจดหมาย แต่ละอย่างก็มีหลักเกณฑ์โดยเฉพาะออกไปอีก ซึ่งจะไม่กล่าวไว้ ณ ที่นี้ ๔. รวบรวมเนื้อหาจากการอ่าน ต้องอ่านให้เป็นไม่ใช้ตะลุยอ่านไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์จะเสียเวลาโดยไม่มีประโยชน์

 

บันไดขั้นที่สอง : การจัดระเบียบเรื่อง

 บันไดขั้นที่ ๒ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

. การเขียนโครงเรื่อง เพื่อเป็นหลักในการดำเนินการขยายความเพิ่มเติมต่อไป อย่างมีระเบียบ และมีความต่อเนื่องกัน โดยการรวบรวมและแบ่งแยกแนวความคิดใหญ่ ๆ ออกเป็นหมวดหมู่เป็นข้อย่อย ๆ ลดหลั่นกันไป
. การจัดระเบียบเนื้อเรื่องที่จะพูด เป็นการเลือกใจความสำคัญของเรื่อง จดบันทึกแล้วแยกแยะ ให้เข้าหมวดหมู่ ตามความเหมาะสมต่อไป มี ๖ แบบให้เลือกกระทำดังนี้

.๑ เรียงตามลำดับเวลา

.๒ เรียงตามลำดับสถานที่

.๓ เรียงตามลำดับเรื่อง

.๔ แบบเสนอปัญหาและวิธีแก้

.๕ แบบแสดงเหตุและผล

.๖ แบบเสนอเป็นข้อเท็จจริง

 

แบบต่างๆ ทั้ง ๖ แบบที่กล่าวนี้ อาจเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบผสมกันไปก็ได้

 

บันไดขั้นที่สาม : การหาข้อความอื่น ๆ มาประกอบหรือขยายความออกไป

มีหลักในการปฏิบัติดังนี้

. หารูปแบบของการขยายความ โดยอาจใช้วิธีการดังนี้

.๑ โดยการยกอุทาหรณ์หรือตัวอย่าง

.๒ โดยการใช้สติ

.๓ โดยการเปรียบเทียบหรืออุปมา

.๔ โดยการอ้างอิงคำพูดหรือคำกล่าวของบุคคลอื่นที่มีน้ำหนักในเรื่องนั้นๆ

.๕ โดยการกล่าวซ้ำหรือย้ำโดยเปลี่ยนวิธีการพูดใหม่

.๖ โดยการอธิบายเพิ่มเติมให้กระจ่างแจ้ง

.๗ โดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา

 

 

. การใช้ทัศนูปกรณ์กระกอบ ต้องใช้เหมาะสม ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ หรือเบี่ยงเบนความสนใจ ของผู้ฟังออกไป จากเรื่องที่พูดนั้น

 

. ข้อความที่จะนำมาขยายหรือประกอบนั้น จะต้องเสริมสร้างความสนใจของผู้ฟังให้ตั้งใจฟังมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเรื่องหรือ ข้อความที่ยกมาจะต้องมีลักษณะดังนี้

.๑ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือความเป็นอยู่ของผู้ฟังมากที่สุด

.๒ ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพหรือเข้าใจชัดเจนจริง ๆ

.๓ เป็นเรื่องที่สำคัญหรือโดดเด่น

.๔ ไม่ทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนความสนใจ หรือเปลี่ยนอารมณ์ของผู้ฟังไปในทางที่ไม่ต้องการ

.๕ ถ้าเป็นเรื่องขำขัน ต้องสุภาพ ไม่ก้าวร้าวผู้ฟัง และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ออกนอกเรื่อง

 

บันไดขั้นที่สี่ : การเตรียมอารัมภบทหรือบทนำ

มีหลักในการปฏิบัติดังนี้

. การใช้ คำนำ เพื่อเรียกร้องให้เกิดความสนใจมีความสำคัญมากที่สุด การเรียกร้องให้เกิดความสนใจ อาจกระทำได้ โดยวิธีการต่างๆ ดังเช่น

.๑ เน้นถึงความสำคัญของเรื่องที่จะพูด

.๒ ใช้เรื่องหรือคำพูดที่คำขัน แต่อย่าใช้มากจนทำให้ผู้พูดเป็นตัวตลกจนเกินไป

.๓ ยกอุทาหรณ์ที่ตรงกับเรื่องหรือไม่ออกนอกเรื่อง

.๔ เริ่มด้วยการยกข้อความหรือคำพูดที่ก่อให้เกิดความตื่นใจ ซึ้งใจ หรือไพเราะ

.๕ กล่าวถึงความรู้สึก ความเชื่อถือ ผลประโยชน์ หรือความเป็นอยู่ร่วมกัน ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียว

กัน ไม่ใช่ศัตรูกัน
.๖ กล่าวนำด้วยการตั้งปัญหาที่เร้าใจ

.๗ ใช้คำพูดที่เร้าใจ หรือไพเราะน่าสนใจ

.๘ กล่าวสรรเสริญยกย่องผู้ฟัง

 

. การทำให้เรื่องกระจ่างขึ้น

.๑ กล่าวถึงจุดใหญ่ ๆ ที่จะพูด

.๒ กล่าวถึงหัวข้อเรื่องที่สำคัญ

.๓ พรรณนาถึงเบื้องหลังหรือประวัติของเรื่องนั้น ๆ

 

 

 

. ข้อที่ไม่ควรกระทำ

.๑ ออกตัวหรือขอโทษว่าเตรียมตัวมาไม่พอ หรือมีความรู้ไม่ดีพอ

.๒ พูดเยิ่นเย้อวกวนไปมา

.๓ พูดจาเป็นเชิงดุแคลนผู้ฟัง

.๔ พูดออกนอกเรื่อง

 

บันไดขั้นที่ห้า : การเตรียมบทสรุป

ประกอบด้วยหลักการสำคัญ ๆ ดังนี้

.๑ กล่าวถึงข้อใหญ่ใจความของเรื่องทั้งหมด

.๒ เรียงลำดับหัวข้อความคิดที่ได้กล่าวมาแล้ว

.๓ อธิบายทบทวน

 

. เร้าใจให้เกิดผลตามที่ต้องการ

.๑ ใช้เฉพาะการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจูงใจผู้ฟังเท่านั้น

.๒ แสดงให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้ฟังทำอะไร

.๓ จะต้องชักจูงทั้งอารมณ์และเชาวน์ปัญญาของผู้ฟัง

 

. ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการสรุป

.๑ ขอโทษว่าเตรียมตัวมาไม่พอ หรือมีความรู้ไม่ดีพอ

.๒ สรุปสั้นเกินไป หรือเยิ่นเย้อเกินไป

.๓ เสนอความคิดใหม่ที่สำคัญขึ้นมา

.๔ พูดออกนอกเรื่อง

.๕ ทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจ

 

บันไดขั้นที่หก : การซักซ้อมการพูด

                มีความสำคัญมาก เพราะทำให้ผู้พูดจำเนื้อหาที่จะพูดได้ ไม่ประหม่า และมีท่าทางเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ในขั้นนี้ผู้พูดต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

. ซ้อมที่ไหน

. ซ้อมเมื่อไร

. ซ้อมอย่างไร แบ่งออกเป็น

.๑ กำหนดการพูด น้ำเสียง และท่าทาง

.๒ ปรับปรุงถ้อยคำให้สละสลวย

บันไดขั้นที่เจ็ด : การแสดงการพูด

 

แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน

ส่วนที่ ๑ หลักการทั่วไป

. หลักการทั่วไปสำหรับการแสดงการพูด มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

.๑ พูดให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์และเข้าใจชัดแจ้ง

.๒ พูดให้เข้ากับสถานการณ์ทั้งหมด

.๓ พูดจากใจจริง

.๔ สุภาพ ไม่อวดอ้าง

.๕ มีความเชื่อมั่น และก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผุ้ฟัง

.๖ ไม่ทำให้ผู้ฟังหลงเพลินแต่เฉพาะน้ำเสียงหรือท่าทางเท่านั้น

.๗ มีชีวิตชีวา

 

ส่วนที่ ๒ การใช้กิริยาท่าทางประกอบ

การใช้กิริยาท่าทางประกอบ มีความสำคัญเนื่องจาก

. ช่วยให้ปรับตัวเป็นปกติได้ดีขึ้น

. ช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ

. ช่วยให้แสดงความหมายได้ชัดเจนขึ้น

. ช่วยในการเน้นหนักต่างๆ

 

. หลักชัยแห่งการพูดของ เดล คาร์เนกี

.๑ จงทำให้เรื่องที่พูดชัดเจนจนแจ่มกระจ่าง

.๒ จงทำให้เรื่องที่พูดสนุกสนานและไม่น่าเบื่อ

.๓ จงพูดโน้มน้าวและชักชวนจนทำให้เกิดการปฏิบัติ

.๔ จงทำให้การพูดประทับใจผู้ฟัง

 

ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติในการฝึกฝนการพูด

               มีนักพูดและนักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนะวิธีการฝึกฝนการพูดเอาไว้ คล้ายคลึงกันบ้างแตกต่างกันบ้าง ยกตัวอย่างให้ศึกษา และเปรียบเทียบกัน เพียง ๓ ท่าน คือ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ดร.สวัสดิ์ บรรเทิงสุข และเพียรศักย์ ศรีทอง ซึ่งแต่ละท่านก็ได้เสนอแนะวิธีการ ในการฝึกฝนการพูดเอาไว้ แตกต่างกันไป แต่ก็ทำให้เราได้รับความรู้ในการพัฒนาตนเองอย่างกว้างขวาง ท่านแรกที่จะกล่าวถึงคือ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกฝน การพูดว่า สารถกระทำได้ ๓ วิธี คือ

. การฝึกพูดด้วยวิธีธรรมชาติ

. การฝึกพูดจากตำรา

. การฝึกพูดโดยผู้แนะนำ


ซึ่งแต่ละวิธีพอสรุปได้ดังนี้

                วิธีแรก การฝึกพูดด้วยวิธีธรรมชาติ หมายถึง การฝึกฝนด้วยตนเอง ผู้พูดต้องชอบพูดชอบแสดงออก เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ ให้มี ชั่วโมงบิน มาก ๆ ก็อาจกลายเป็นนักพูดที่ดีได้ ยิ่งถ้ามีปฏิญาณไหวพริบดีด้วยก็อาจจะจับหนทางได้เร็วและประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร
                วิธีที่สอง การฝึกพูดจากตำรา โดยอาศัยตำราซึ่งมีผู้เขียนไว้มากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้พูดสามารถเลือกอ่าน ศึกษาได้ตามใจชอบ ที่สำคัญผู้ที่ศึกษาจากตำรานั้นต้องหาโอกาสฝึกปฏิบัติจริง ๆ โดยอาจฝึกจากงานสังคมต่าง ๆ หรือฝึกในงานอาชีพของตนเองก็ได้ โดยถ้านำความรู้และ เทคนิคใหม่ ๆ จากตำรามาใช้ประกอบด้วยก็จะทำให้เก่งเร็วขึ้น

                วิธีสุดท้าย การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนำ หมายถึง การมีพี่เลี้ยงดี ๆ คอยให้คำแนะนำ อาจจะเป็นการแนะนำซักซ้อมให้เป็นการส่วนตัว เป็นครั้งคราว หรือจัดกลุ่มฝึกพูดขึ้น โดยมีการฝึกฝนกันเป็นประจำก็ได้
ท่านต่อไป คือ ดร.สวัสดิ์ บรรเทิงสุข ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกฝนการพูดไว้อย่างละเอียดว่าสมารถกระทำได้ ๒ วิธีคือ

. การฝึกพูดแบบไม่เป็นทางการ

. การฝึกพูดแบบเป็นทางการ

                ซึ่งแต่ละวิธีผู้เรียบเรียงใคร่ของนำเสนอไว้พอสังเขป ดังนี้

 

วิธีแรก การฝึกพูดแบบไม่เป็นทางการ

                การฝึกพูดแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง การฝึกพูดที่มิได้จัดเป็นรูปแบบที่แน่นอน ซึ่งได้แก่ การฝึกพูดด้วยตนเอง การฝึกพุดเช่นนี้ ผู้พูดต้องอาศัย ความอดทนอย่างยอดเยี่ยมประกอบกับความตั้งใจจริงเป็นพลังอันสำคัญ ข้อแนะนำสำหรับการฝึกพูด แบบไม่เป็นทางการ หรือการฝึกพูดด้วยตนเองนั้น มีลำดับขั้นในการปฏิบัติดังนี้

. จงเป็นนักอ่านที่ดี โดยการอ่านตำราและข้อแนะนำการพูดให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้

. จงเป็นนักฟังที่ดี โดยการติดตามฟังการพูดในทุกโอกาสให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ ทั้งการพูดของนักพูดที่มีชื่อเสียงและนักพูดทั่ว ๆ ไปแล้วพยายามวิเคราะห์ว่าสิ่งใดที่ผู้พูดทำได้เหมาะสมหรือสิ่งใดไม่ควรทำ

. จงใช้เครื่องบันทึกเสียงให้เป็นประโยชน์ โดยการบันทึกการพูดที่ดีเอาไว้ แล้วเปิดฟังให้บ่อยที่สุดจนจำได้ขึ้นใจว่าตอนใดเป็นตอนที่ดีที่สุด ตอนใดเด่น ตอนใดด้อย เพราะเหตุใด

. จงบันทึกเสียงพูดของท่าน โดยการบันทึกทั้งการพูดในที่ชุมนุมชน และการพูดคนเดียว แล้วเปิดฟังบ่อย ๆ ให้ขึ้นใจว่าตอนใดว่าด้อย ตอนใดเด่น เพราะเหตุใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเดียวกัน จงบันทึกและฟังเสียงของท่านเองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อที่จะได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องให้ได้

. จงพยายามหาโอกาสฝึกพูดต่อหน้ากระจกเงา โดยการพูดแลฝึกฝนการใช้ท่าทางประกอบโดยไม่กระดากอายหรือเคอะเขิน เพราะวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง

                . จงเริ่มฝึกหัดด้วยความมุ่งมั่นจากง่ายไปหายามเป็นลำดับ ดังนี้

.๑ การพูดให้คำจำกัดความสิ่งที่เป็นรูปธรรม

.๒ การพูดอธิบายคำพังเพยหรือภาษิต

.๓ การพูดเพื่อให้คำจำกัดความสิ่งที่เป็นนามธรรม

.๔ การพูดเพื่อให้เหตุผลสนับสนุน

.๕ การพูดเพื่อให้เหตุผลคัดค้าน

.๖ การพูดในเชิงอภิปรายหรือวิจารณ์

 

                . จงฝึกเขียนประกอบการฝึกพูด โดยการร่างประกอบให้ครอบคลุมสิ่งที่พูดไว้ทั้งหมดแล้วอ่านซ้ำหลาย ๆ เที่ยว หลังจากนั้นจงฝึกพูดจากบันทึก จนกระทั่งพูดโดยไม่มีบันทึกหรือใช้บันทึกแต่น้อย

                . จงอย่าละเลยเมื่อมีโอกาสที่จะได้พูดจริง ๆ ต่อหน้าผู้ฟัง โดยการเตรียมตัวให้มากจนเกิดความมั่นใจ บางตอนที่สำคัญท่านจะต้องท่องจำให้ได้ โดยเฉพาะการขึ้นต้น และการจบจะต้องท่องจำเอาไว้ให้ได้

                . จงเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ลอกเลียนแบบอย่างใด ๆ ไปทั้งหมด จงนึกอยู่เสมอว่าท่านมิได้กำลังพูดแทนใคร แลไม่มีใครพูดแทนท่านได้ ท่านล้มเหลวในแบบของท่านเองดีกว่าท่านชนะในแบบของผู้อื่น

 

วิธีที่สอง การฝึกพูดแบบเป็นทางการ

                การฝึกพูดแบบเป็นทางการ หมายถึง การฝึกพูดที่มีรูปแบบที่แน่นอน มีบทฝึก มีขั้นตอนโดยเฉพาะ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การฝึกพูดแบบ เป็นทางการที่ปฏิบัติกันอยู่ในสโมสรฝึกพูดต่างๆ โดยสรุปเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

. โครงสร้างของสโมสรฝึกพูด

 . ขั้นตอนการฝึกพูด

. การดำเนินรายการฝึกพูด

 

. โครงสร้างของสโมสรฝึกพูดล

                โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของสโมสรฝึกพูด จะจัดเป็นรูปคณะกรรมการเช่นเดียวกันกับสโมสรทั่ว ๆ ไป คือ มีนายกสโมสร อุปนายก เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม และประชาสัมพันธ์ ซึ่งในแต่ละสโมสรอาจมีหน้าที่ต่างๆ แตกต่างกัน ไปได้

. ขั้นตอนการฝึกพูด

                ขั้นตอนการฝึกพูดของสโมสรฝึกพูดนั้น มักจะดำเนินการเป็น ๔ ขั้นตอน คือ

                .๑ การฝึกพูดแบบฉับพลัน ได้แก่ การเชิญให้สมาชิกพูดในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยที่ผู้พูดไม่มีโอกาสเตรียมตัวมาล่วงหน้าจะใช้เวลาการพูดเพียง ๒-๓ นาที

                .๒ การฝึกพูดแบบเตรียมตัว ได้แก่ การฝึกพูดในบทเรียนหรือเนื้อหาและบทฝึกพูดตามมุ่งหมายของบทเรียนหรือบทฝึกที่มีความมุ่งหมายเฉพาะ อย่างกำหนดไว้ จะมีเวลาในการพูด ๕-๗ นาที และผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดได้ตามต้องการ

                .๓ การวิจารณ์การพูด ได้แก่ ขั้นตอนที่ผู้พูดหรือสมาชิกฝึกพูด ได้รับการประเมินผล และคำแนะนำในการแก้ข้อบกพร่อง ของแต่ละคนสำหรับเป็นข้อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นสำหรับการพูดครั้งต่อไป

 

. การดำเนินรายการฝึกพูด

                การดำเนินรายการฝึกพูดของสโมสรแต่ละแห่ง อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้าง ตามความเหมาะสม แต่โดยมาก มักมีการกำหนด นัดหมาย ให้มีรายการฝึกพูด สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ครั้งละ ประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง โดยมีรายการเป็นลำดับ ส่วนท่านสุดท้ายที่จะกล่าวถึง คือ เพียรศักย์ ศรีทอง ซึ่งได้กล่าวถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติในการฝึกฝนการพูดไว้อย่างละเอียด และน่าสนใจมาก โดยพอจะเรียบเรียงเป็นขั้นตอน ได้ดังนี้

. การฝึกฝนให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ควรต้องฝึกดังเรื่องในต่อไปนี้

.๑ ฝึกนิสัยรักการอ่าน

.๒ ฝึกนิสัยรักการฟัง

.๓ ฝึกนิสัยในการคิดสร้างสรรค์

.๔ ฝึกจดจำเรื่องราวต่าง ๆ

ซิเซโร (Cicero) นักพูดผู้โด่งดังชาวโรมัน เมื่อ ๑๐๖ - ๖๓ ปีก่อนคริสตกาล ได้กล่าวเกี่ยวกับ ความจำของมนุษย์ไว้ว่า ความจำคือคลังและยามเฝ้าสรรพสิ่ง หมายถึง ความจำเป็นแหล่งสะสมความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ของมนุษย์  ในเรื่องของการฝึกความจำนั้น แฮร์รี่ โลเรน กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

เทคนิคการช่วยความจำมีบทบาทสำคัญ และเป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย คำว่า "นีมอนิค" (Mmemornic) แปลว่า เทคนิคการช่วยความจำนั้น มาจากคำว่า "นีมอซีน" (Mnemosyne) ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาองค์หนึ่งของชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็นเทพธิดาแห่งความจำ นั่นก็แสดงว่า เทคนิคการช่วยจำมีมานานแล้ว ตั้งแต่อารยธรรมกรีกยุคต้น ๆ เป็นเรื่องที่แปลกคือ ระบบการจดจำที่สามารถฝึกฝนได้ ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้และนำมาใช้กัน คนที่รู้จักนำมาใช้ ไม่เพียงแต่จะแปลกใจ ที่ตนมีความสามารถในการจดจำดี แต่ยังแปลกซ้ำไปอีกที่ได้รับแต่คำชมเชย ยกย่องจากเพื่อนฝูง และสมาชิกของครอบครัว บางคนเห็นว่าเทคนิคการจำเหล่านี้มีค่าเกินกว่า จะไปถ่ายทอดให้คนอื่น

 

. ฝึกกล่าวคำพูดให้ถูกต้องตามสำเนียงภาษาพูด

                การฝึกพูดของนักพูดทั้งหลาย สิ่งแรกที่ควรให้ความสนใจ ก็คือ ฝึกการออกเสียงภาษาที่พูดให้ถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะ การออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้องชัดเจน กรณีที่ไม่ออกเสียงเหมือนอักษรที่เขียนมีอยู่ ๒ ชนิด ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง รำคาญหู คือ

                . ตัว "" กลายเป็น "" การกระทำเช่นนี้บางครั้งอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้

                . ตัวกล้ำ เช่น พูดว่า "ปับปุง" แทนที่จะออกเสียงกล้ำว่า "ปรับปรุง"   ถ้อยคำที่คนส่วนใหญ่ออกเสียงผิด พอจะยกตัวอย่างได้ไม่ยาก อาทิเช่น

.๑ ถ้อยคำที่เขียนด้วย "" และ "" .๒ ถ้อยคำที่ออกเสียงเป็นเสียงควบคล้ำ เช่น กว้างขวาง ไขว้เขว พลัดพราก คลี่คลาย เพลิดเพลิน แพร่พราย ตรวจตรา ตรึงตรา ฯลฯ .๓ ถ้อยคำที่เป็นคำศัพท์ต่าง ๆ ในภาษาไทยเรามีการสร้างคำใหม่ขึ้นมา โดยวิธีการสร้างคำสมาส คำสนธิ คำประสม คำซ้อน ฯลฯ คำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ออกเสียงไม่เป็นไปตามรูปศัพท์ โดยเฉพาะคำศัพท์ ที่เป็นคำ สมาส หรือคำประสม เช่น

ประสบการณ์ ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "ประ - สบ - กาน"
                กาลสมัย ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "กาน - ละ - สะ - หมัย"
                ปรัชญา ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "ปรัด - ยา"

 

                . การฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง นักพูดที่ดีต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง การฝึกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น แก่ตนเองจนเกิดเป็นนิสัย ผู้ฝึกจะต้องมีความตั้งใจ อดทน ฝึกฝนตนเองในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

.๑ ฝึกสร้างพลังจิตให้มีปมเด่น

.๒ ฝึกตนให้เป็นคนกล้าพูด

.๓ ฝึกการใช้สายตาและกิริยาท่าทางเวลาพูด

 

. ฝึกตนให้เป็นคนมีความอดทนอดกลั้นต่อ อิฏฐารมณ์และอริฏฐารมณ์ จะต้องฝึกตนเกี่ยวกับการอดทน ต่ออากัปกิริยาต่าง ๆ ของผู้ฟัง เพราะการพูดทุกครั้ง ย่อมได้รับปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ฟัง ทั้งทางบวก และทางลบ การหักห้ามอารมณ์ และรู้จักข่มใจตนเอง จึงเป็นสิ่งที่นักพูดต้องฝึกฝนให้ได้ โดยอาศัยหลักในการฝึกฝนดังนี้

.๑ ฝึกระงับอารมณ์ต่าง ๆ

.๒ ฝึกวางเฉยให้ได้ (อุเบกขา)

.๓ ฝึกการไม่ตอบโต้ผู้ฟัง

.๔ ฝึกไม่วางโตเหนือผู้ฟัง

.๕ ฝึกสร้างพลังใหม่ ๆ

 

. ฝึกการพัฒนาบุคลิกในการพูด

                ดร.ประดินันท์ อุปรมัย ได้แบ่งกลุ่มนักจิตวิทยาที่อธิบายพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็นกลุ่ม ๔ กลุ่ม ตามวิธีการศึกษาทัศนะ คือ

. นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาบุคลิกภาพของบุคคล ด้วยการวิเคราะห์จิตของคนไข้โรคจิตเป็นส่วนใหญ่

. นักจิตวิทยากลุ่มเน้นลักษณะของบุคคล ซึ่งใช้วิธีศึกษาบุคลิกภาพของบุคคลปกติทั่วไป โดยเน้นศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นสำคัญ

. นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งใช้วิธีศึกษาพฤติกรรมของบุคคล โดยนำเอาความรู้พื้นฐาน ที่ได้จากการทดลองกับสัตว์ มาประยุกต์ กับการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล

. นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม ซึ่งมีความเชื่ออย่างลึกซึ้ง ในเรื่อง แนวโน้มในการพัฒนาศักยภาพแห่งตน และมีพื้นฐานความเชื่อในปรัชญาอัตภาวนิยม

                จากแนวคิดที่นักจิตวิทยาได้ให้ทัศนะในการพัฒนาบุคลิกภาพไว้นี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาบุคลิกภาพ จะต้องมีการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และหลาย ๆ วิธี ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ การพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนา

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น: