การพูด
การพูดเป็นพฤติกรรมสื่อสารของมนุษย์
ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ไม่ใช่สัญชาตญาณตามธรรมชาติ และความจำเป็น
ทำให้มนุษย์ต้องพูด และพูดได้แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถพูดได้เองตามธรรมชาติ ต้องอาศัยการเรียนรู้จาก
บุคคลแวดล้อม และเรียนรู้ตามลำดับแห่งความเจริญเติบโต
เริ่มต้นด้วยคำพูดที่มีฐานที่เกิดของ เสียงจากริมฝีปากก่อน
แล้วจึงเรียนรู้วิจิตพิสดารมากขึ้น
การเรียนรู้เพื่อให้พูดได้เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการพูดเท่านั้น
เพราะหากทำได้เพียงเท่านั้นก็จะต้องประสบกับปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างแน่นอน
ดังนั้นหากต้องการพูดให้ได้ผลดีจริงๆ
ต้องฝึกฝนการพูดโดยอาศัยหลักวิชาการพูดซึ่งมีหลักเกณฑ์ต่างๆ
ที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้
การพูดที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นมิ
ใช่ว่าผู้พูดอยากจะพูดอะไรก็ได้เพราะนั้น อาจส่งผลกระทบในทางลบกับตัวผู้พูดเอง
การจะเป็นผู้พูดที่ดีต้องมีการศึกษาและฝึกฝนวิธีการพูดที่ถูกต้อง
ซึ่งวิธีการพูดที่ถูกต้องนั้นก็มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้พูดสามารถจะนำไปศึกษาและฝึกฝนได้
ดังนั้นจึงถือว่าการพูดเป็นทั้งศาสตร์ (science) อันหมายถึง
เป็นวิชาความรู้ และความเชื่อที่กำหนดไว้อย่างมีระบบระเบียบ
และสามารถพิสูจน์หรือสามารถหาข้อเท็จจริงได้ และ ศิลป์ (art) เพราะต้องอาศัยการฝึกฝน โดยใช้เทคนิควิธีการที่จำเป็น
ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีหรือพลิกแพลงในด้านต่างๆ ให้เหมาะแก่ผู้พูดแต่ละคน
เพื่อให้การพูดของเขาในแต่ละครั้งนั้นเป็นการพูดที่ดีมีรสชาติ
มีชีวิตชีวาและทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน คล้อยตาม
หรือประทับใจขึ้นได้ เป็นต้น
มีหลายคนที่เชื่อว่าการพุดเป็นพรสวรรค์
หรือเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิด จึงไม่อาจศึกษาและฝึกฝนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ถ้าจะกล่าวโดยทั่วไป การเรียนในทุกสาขาวิชาก็ต้องอาศัยพรสวรรค์อยู่บ้าง
ในแง่ที่ว่าบางคนอาจเรียนได้ดีกว่า เร็วกว่า หรือ รู้จักประโยชน์ได้มากกว่าบางคน
ไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์แม้กระทั้งวิชาคัดลายมือ
ในวิชาการพูดก็เช่นกันบางคนอาจจะเรียนได้ดีกว่า เร็วกว่า หรือ
รู้จักประโยชน์ใช้ได้มากกว่าบางคน แต่ทุกคนสามารถเรียนได้
ผุ้ที่เรียนย่อมมีหลีกที่ดีกว่าเดิมและดีว่าผู้ที่ไม่ได้เรียนการเรียนวิชาการพูดที่ถูกต้องต้องเรียนทั้งในฐานะที่เป็นศาสตร์และศิลป์
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
วัตถุประสงค์ของการฝึกฝนการพูด
วัตถุประสงค์ของการพูดมี ๕ ประการ คือ
๑. เพื่อให้รู้จักการสื่อสารด้วยคำพูดที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการอยู่และทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม
บางคนอาจเรียนมาสูงสามารถพูดได้หลายภาษาแต่กลับพูดกับคนอื่นไม่รู้เรื่องพูดแล้วคนฟังไม่เข้าใจ
บุคคลเหล่านี้ต้องมาฝึกฝนการพูดกันใหม่
มิฉะนั้นจะไม่สามารถอยู่และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
๒. เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้นำที่ดี
ผู้นำต้องพูดเป็นเพราะ ผู้นำทำงานด้วยปาก ผู้ตามทำงานด้วยมือ
แม้นว่ามนขณะนี้เราอาจจะเป็นผู้ตามก็ตาม แต่วันหนึ่งข้างหน้าเราอาจมีโอกาสได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำคนหนึ่ง
ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมตัวตั้งแต่บัดนี้
๓. เพื่อวางรากฐานของประชาธิปไตย ในสังคมประชาธิปไตยนั้น
ประชาชนจะต้องกล้าพุดกล้าแสดงออก รู้จักพุด รู้จักเสนอแนะ รู้จักคัดค้าน
ถ้าไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าคัดค้าน
ก็จะกลายเป็นคนที่เอื้ออำนวยให้เกิดระบบเผด็จการในสังคมขึ้นได้
๔. เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ มนุษย์เราต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม
ทั้งกับครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อร่วมงาน ฯลฯ ผู้ใดเป็นผู้มีมิตรภาพ
มีสัมพันธ์ภาพที่ดี รู้จักพูดคุยตามกาลเทศะ ย่อมทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
บางคนอาจมีนิสัยดีไม่เป็นพิษไม่เป็นภัยกับใครแต่ปากไม่ดีชอบพูดพล่ามโดยไม่ทันคิดทำให้คนอื่นไม่อยากคบหาสมาคมด้วย
กลายเป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจ จนเป็นเหตุให้ขาดเพื่อนแท้ ขาดบริวารที่ดีไปได้
๕. เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ที่มีโอกาสได้พุดในชุมชนบ่อยๆ
จำทำให้เกิดผลดีในด้านการพัฒนาบุคลิกภาพไปในตัว
เพราะในการฝึกฝนการพูดเราก็จะต้องฝึกด้านการพัฒนาบุคลิกภาพของเราควบคู่ไปด้วย
ซึ่งส่งผลทำให้บุคลิกภาพของเราดีขึ้น เช่น การวางตัวดีขึ้น
กิริยาท่าทางไม่เคอะเขิน แต่งการได้เหมาะสม มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกระตือรือร้น
มีมนุษยสัมพันธ์ และมีคุณลักษณะอีกหลายประการที่หาไม่ได้จากที่ไหน
การเตรียมตัวเพื่อการพูดแบบต่างๆ
นักวิชาการ
และนักพูดส่วนใหญ่ จำแนกวิธีการพูดออกเป็น ๔ วิธี คือ
-
การพูดแบบไม่มีการเตรียมตัว
-
การพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ
-
การพูดแบบพูดจากการท่องจำ
-
การพูดแบบพูดจากเตรียมตัวหรือพูดโดยความเข้าใจ
-
ซึ่งแต่ละวิธีก็มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติและวิธีการในการเตรียมตัวที่แตกต่างกัน
ดังนี้
๑. การพูดแบบไม่มีการเตรียมตัว
( Impromptu Speech ) ]
การพูดแบบไม่มีการเตรียมตัวนั้น
มักเกิดขึ้นได้เสมอในชีวิตประจำวัน เช่น ในงานเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสต่างๆ
งานพิธีมงคลสมรส ฯลฯ ที่ผู้พูดอาจได้รับเชิญให้พูดโดยกะทันหัน
ทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมเนื้อหาสาระในการพูด
ซึ่งความไม่พร้อมนี้ อาจจะส่งผลกระทบให้การพูดในครั้งนั้น
ไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร
การพูดแบบนี้ถือว่าอันตรายที่สุด
เพราะหากไม่มีประสบการณ์หรือ ชั่วโมงบิน มากจริงๆ จะทำไม่ได้
โดยเฉพาะในการบรรยายที่ผู้ฟังไม่สนใจฟัง
ด้วยเหตุนี้ผู้พูดที่ดีซึ่งต้องการประสบความสำเร็จในการพูด
จึงควรมีการเตรียมตัวเพื่อ แนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไว้จะได้ประโยชน์ในยามที่ได้รับเชิญให้พูดโดยกะทันหัน
ในการพูดแบบนี้ผู้พูดมักไม่มีเวลาในการเตรียมตัว
และเตรียมเนื้อหาสาระในการพูดมากนักอย่างเพียงแค่ไม่กี่นาทีก่อนขึ้นพูด
ซึ่งวิธีการเตรียมตัว ในระยะเวลาอันสั้น เช่นนี้ผู้พูดอาจกระทำได้โดย
หากในสถานการณ์ที่ผู้พูดได้รับเชิญให้พูดโดยกะทันหันไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน
ผู้พูดอาจอาศัย สังเกตข้อความที่ผู้อื่นเขาพูดมาก่อนหน้าเรา (ถ้ามี) แล้วอาศัยความชัดเจนที่มีอยู่ในตัวเป็นวัตถุดิบในการพูด
(ถ้าหากว่าผู้พูดเคยมีความรู้ และประสบการณ์ เกี่ยวกับการพูด
ในที่ชุมชนมาแล้ว ย่อมเป็นของง่ายที่จะพูดแบบนี้ โดยฉับพลันทันใด) ซึ่งผู้พูดจะต้องมองถึงหัวข้อเรื่องที่จะพูดในรูปโครงเรื่องย่อเสียก่อน
และเข้าใจวัตถุประสงค์พิเศษของการพูดในครั้งนั้นๆ จากกนั้นจึงคิดหาตัวอย่าง คำคม
หรือสุภาษิต เพื่อนำมากล่าวนำ แล้วรวบรวมเหตุผลและตัวอย่างประกอบ (เนื้อเรื่อง) เพื่อหาข้อยุติก่อนการพูดผู้พูดจะต้องพยายามสงบระงับความกระวนกระวายใจ
ทำจิตใจให้สบาย ระงับความตื่นเต้นโดยการหายใจเข้าออกช้าๆ หลายๆ ครั้ง
พอเริ่มพูดจะต้องเพ่งพินิจแต่เฉพาะเรื่องที่กำลังพูดอยู่เท่านั้น
การรวมจิตใจเพ่งพินิจแต่เฉพาะเรื่องที่จะพูดเช่นนี้ จะทำให้สามารถควบคุม ความตื่นเต้นของตนเองได้
สำหรับแนวทางในการกำหนดเนื้อเรื่องประกอบ ในการพูดแบบไม่มีการเตรียมตัวนั้น ผู้พูดอาจเลือกใช้แนวใดแนวหนึ่งดังนี้
สำหรับแนวทางในการกำหนดเนื้อเรื่องประกอบ ในการพูดแบบไม่มีการเตรียมตัวนั้น ผู้พูดอาจเลือกใช้แนวใดแนวหนึ่งดังนี้
-
แนวส่วนของเรื่อง (Space Order)
-
หมายถึง แนวทางในการพูดที่ยึดการแบ่งเรื่องออกเป็นส่วนๆ
ผู้พูดต้องแบ่งให้ดีว่าเรื่อวงที่เราจะพูดนั้นสามารถกล่าวในลักษณะของรูปธรรมได้หรือไม่
หากได้ให้เริ่ม กล่าวจากรูปธรรมซึ่งผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายก่อน
จากนั้นจึงเปลี่ยนไปสู่นามธรรมดาตามหัวข้อเรื่อง
ไม่ควรเริ่มพูดจากนามธรรมเพราะผู้ฟังอาจไม่เข้าใจได้ - แนวลำดับเวลา (Time Order)
-
หมายถึง แนวทางในการพูดที่ยึดถือเรื่องเวลาเป็นหลักการดำเนินเรื่อง
จะกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
และที่น่าจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
-
แนวเหตุและผล (Causal Order) ]
-
หมายถึง
แนวทางในการพูดที่ยึดถือเรื่องเหตุและผลเป็นหลัก
โดยกล่าวถึงสาเหตุก่อนว่าทำไมจึงเกิดเรื่องนั้นๆ ขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
จะมีผลอย่างไร -
แนวหัวเรื่อง (Topic Order)
หมายถึง แนวทางในการพูดที่ยึดถือหัวเรื่องเป็นหลัก เราสามารถพูดโดยกล่าวถึงชื่อเรื่องที่เราจะพูด เช่น อาจจะกล่าวว่าหมายถึงอะไร หรือโดยทั่วไป หมายถึงอะไรแต่ในที่นี้หมายถึงอะไร เป็นต้น
หมายถึง แนวทางในการพูดที่ยึดถือหัวเรื่องเป็นหลัก เราสามารถพูดโดยกล่าวถึงชื่อเรื่องที่เราจะพูด เช่น อาจจะกล่าวว่าหมายถึงอะไร หรือโดยทั่วไป หมายถึงอะไรแต่ในที่นี้หมายถึงอะไร เป็นต้น
ตัวอย่างการพูดแบบไม่มีการเตรียมตัว
ตัวอย่างที่ ๑ เมื่อได้รับเชิญให้กล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่
(ในฐานะประธานบริษัท)
ท่านผู้มีเกียรติและเพื่อร่วมงานที่รักทั้งหลาย
ในนามของบริษัทฯ
ผมมีความรู้สึกชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นเพื่อร่วมงานมาร่วมสนุกสนานกันอย่างเต็มที
เนื่องในโอกาส ฉลองวันขึ้นปีใหม่ ในวันนี้
ทุกปีที่ผ่านมาเราถือว่าวันนี้เป็นวันแห่งความรัก
และความสามัคคีเพราะพนักงานทุกระดับ จะได้มีโอกาสมาสังสรรค์ และร่วมสนุกสนานกัน
หลังจากที่เราได้เหน็ดเหนื่อยกันมาทั้งปี
ความก้าวหน้าของบริษัทเรา
นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคน ในปีนี้ผมขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า กิจการของบริษัทเรา ได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก
โดยเฉพาะสินค้าของเราได้รับการยอมรับ และการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าจำนวนมาก
ซึ่งผมเองในฐานะ ประธานกรรมการ ของบริษัท ก็มีนโยบายในการขยายงานของบริษัทออกไผสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น
มีการเร่งผลิตให้เพื่อสูงขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและ คุณภาพ
ให้สินค้าของเราเป็นที่นิยมของ ประชาชนอย่างกว้างขวาง
ความสำเร็จของการดำเนินงานตลอดระยะเวลา
๑ ปีที่ผ่านมานั้น มาจากการทุ่มเทเสียสละ ในการทำงานของเพื่อนพนักงาน
และท่านผู้บริหาร ทุกท่าน
ดังนั้นเพื่อตอบแทนในการเสียสละที่เพื่อนพนักงานและท่านผู้บริหารทุกท่านได้ทุ่มเทให้กับบริษัท
ทางบริษัทของเราก็จะมีการปรับเงินเดือน ของพนักงานทุกระดับชั้นให้สูงขึ้น
ขณะเดียวกันก็จะมีการปรับปรุงด้านสวัสดิการให้ดีขึ้นด้วยเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่นี้
ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
จงดลบันดาลให้เพื่อพนักงานทุกท่าน จงประสบความสำเร็จ ความสุข ความเจริญตลอดไป ไชโย!
ไชโย! ไชโย!
ตัวอย่างที่ ๒ เมื่อกล่าวอวยพรคู่สมรส
ท่านผู้มีเกียรติ เพื่อเจ้าบ่าว
และเพื่อเจ้าสาว
ผมรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป้นอย่างยิ่ง
ที่ท่านเจ้าภาพได้มอบหมายให้ผมมาเป็นผู้กล่าวอวยพรคู่สมรสในครั้งนี้
คู่สมรส คือ
คุณวิภาพักตร์และคุณรัตนพล
นับว่าเป็นคู่สมรสที่น่ารักและเหมาะสมกันมากที่สุดคู่หนึ่ง
ผมรู้จักท่านสองท่านมานานแล้ว และรู้จักเป็นอย่างดีเพราะทั้งสองท่าน เป็นลูกน้องของผมเอง
ผมได้แอบสังเกตอย่างเงียบๆ มานานแล้วว่า ทั้งคู่มีความสนิทสนมกันมากเป็นพิเศษ
แต่ก็คิดว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าการเป็นเพื่อนร่วมงาน จนถึงวันนี้ทั้งคู่มาพบผม
และบอกให้ผมทราบว่ากำลังจะแต่งงานกันแล้ว ซึ่งทำให้ผมรู้สึกดีใจ เป็นอย่างยิ่ง
ในโอกาสอันดีนี้
ผมอยากจะฝากข้อคิดสำหรับคู่สมรสว่า
ชีวิตสมรสจะราบรื่นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีความอดทน เพราะแม้นลิ้นกับฟัน
ก็ยังมีวันกระทบกันได้ สามีและภรรยาก็เช่นเดียวกัน
หนักนิดเบาหน่อยก็ต้องให้อภัยกัน ชีวิตคู่จะมีความสุขและความเจริญก้าวหน้า
ถ้าทั้งคู่อยู่ร่วมกันด้วยความเห็นอกเห็นใจ มีความซื่อสัตย์
รู้จักวิธีถนอมน้ำใจกัน มีวาจาไพเราะต่อกัน แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อกัน
ขยันทำมาหากิน และรู้จักเก็บหอมรอมริบ
ผมก็คิดว่าชีวิตนี้จะต้องมีความสุขตามอัตภาพอย่างแน่นอน
ท้ายที่สุดนี้
ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
จงดลบันดาลให้คู่บ่าวสาวประสบแต่ความสุขความเจริญในชีวิต
และรักกันตราบชั่วนิรันดร์ ไชโย! ไชโย! ไชโย!
๒. การพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ
(Manuscript Speech)
การพูดแบบนี้ผู้พูดจะเขียนข้อความที่จะพูดลงไปในต้นฉบับ
แล้วเมื่อถึงสถานการณ์การพูดจริง ผู้พูดก็จะนำต้นฉบับนั้นมาอ่านให้ผู้ฟัง
ได้รับฟังอีกทีหนึ่ง ซึ่งวิธีการพูดแบบนี้มักใช้ในสถานการณ์การพูดทีเป็นทางการมาก
ๆ เช่น ในการกล่าวรายงานทางวิชาการการกล่าวเปิดงาน การกล่าวเปิดประชุม
การสรุปผลการประชุม การอ่านข่าวหรือบทความทางวิทยุ-โทรทัศน์
ที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว การกล่าวตอบโต้ในพิธีต่างๆ หรือการกล่าวแถลง เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกล่าว ต่อหน้าพระพักตร์
ซึ่งถือกันว่าควรใช้วิธีการอ่านมากกว่าการพูดสด แต่ถ้าหากเป็น สถานการณ์
การพูดโดยทั่วไปเป็นทางการหรือ เป็นทางการไม่มากแล้ว ไม่ควรใช้วิธีนี้
เป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจจะทำให้ผู้ฟัง รู้สึกเบื่อหน่าย
และหมดความรู้สึกสนใจในตัวผู้พูด อันเนื่องมาจากการที่ผู้พูดต้อง
ละสายตามาจากผู้ฟัง มาอยู่ที่ต้นฉบับตลอดเวลา ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสาร
ทางสายตากับผู้ฟัง และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือวิธีการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ
หรืออาจเรียกว่า อ่านให้ฟัง จะทำให้ผู้พูด ขาดลีลาน้ำเสียง อันมีชีวิตชีวา
และบุคลิกภาพอันเป็นตัวของตัวเอง นอกจากนั้นผู้ฟังส่วนใหญ่มักไม่ชอบการพูดแบบนี้
เนื่องจากผู้ฟังมักคิดว่าผู้พูดคงไม่เข้าใจถ่องแท้ในเรื่องที่พูดหรืออาจจะไม่ได้เขียนต้นฉบับด้วยตนองก็ได้
สำหรับประโยชน์ของการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับอยู่ที่ว่าผู้พูดสามารถพูดในเรื่องนั้นๆ
ได้อย่างถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด อันเนื่องมาจาก การหลงลืม ความตื่นเต้น
ความประหม่า ความสับสน หรืออื่นๆ
ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการพูดแบบเป็นทางการมาก ๆ
หรือการพูดต่อหน้าพระพักตร์ เนื่องจากว่าภาษาพูด
ที่เขียนไว้อย่างสมบูรณ์แบบในต้นฉบับ ย่อมสามารถเขียนได้ ไพเราะสละสลวย
และมีน้ำหนักมากกว่าการพูดแบบ ปากเปล่า และจะช่วยให้ผู้พูด เกิดความรู้สึกปลอดภัย
จากการพุดที่ผิดพลาด
ส่วนวิธีการเขียนต้นฉบับ
(Manuscript) เพื่อการพูดแบบนี้ให้สมบูรณ์แบบที่สุดนั้น
ก่อนการเขียนต้นฉบับผู้พูด ต้องเตรียมจัดทำ โครงเรื่องเสียก่อน ครั้นวางโครงเรื่อง
ได้สมบูรณ์แล้วผู้พูดจึงเขียนต้นฉบับการพูดลงไปทุกคำพูด
ดุจเดียวกับเวลาพุดกับเพื่อนๆ เมื่อเขียนต้นฉบับจบแล้ว ต้นฉบับนั้นยังไม่ถือว่า
เป็นต้นฉบับที่สมบูรณ์ ยังเป็นเพียงการร่างครั้งแรกเท่านั้น
ผู้พูดต้องอ่านทบทวนร่างนั้นหลายๆ ครั้งแล้วแก้ไข สำนวน ลีลา น้ำหนักคำ
และรูปประโยคโดยละเอียด จนเกิดความแน่ใจว่าสิ่งที่เขียนไว้นั้น
ถูกต้องตรงกับสิ่งที่เขาประสงค์จะพูด ทุกประการ แม้นว่าจะแก้ไขปรับปรุงหลายครั้งจนผู้พูดเกิดความรู้สึกพอใจในต้นฉบับของเขาแล้วก็ตาม
ผู้พูดกูควรจะทดสอบ ต้นฉบับของเขา เป็นครั้งสุดท้าย โดยการอ่าน ต้นฉบับดังกล่าว
ให้ผู้ร่วมคณะหรือเพื่อบางคนฟัง (หากหาคนฟังไม่ได้อาจอ่านออกเสียงดังๆ
ให้ตนเองฟังเพียงลำพัง คนเดียวก็ได้) การทดสอบแบบนี้จะช่วยให้การแก้ไขต้นฉบับการพุดครบถ้วยสมบูรณ์ที่สุด
เมื่อได้ต้นฉบับการพูดที่สมบูรณ์แบบตามที่ปรารถนาแล้ว
ผู้พูดควรพิมพ์ต้นฉบับโดยใช้กระดาษพิมพ์อย่างหนา ระวังอย่าให้คำผิดพลาด ปรากฏ
ต้นฉบับพิมพ์ควรสะอาด เนื้อเรื่องควรพิมพ์เป็นตอนสั้น ๆ
ข้อความแต่ละตอนต้องจบในหน้าเดียวกันไม่ควรต่อไปหน้าอื่น ริมกระดาษซ้ายมือควรเว้นว่างประมาณ
๓ นิ้ว พิมพ์เลขหน้าทุกหน้าตามลำดับ
หมายเลขขอบขวาด้วนบนเพื่อป้องกันการสลับหน้าผิด
ควรใช้ลวดเย็บต้นฉบับรวมกันเพื่อป้องกันการหลุดและสูญหาย เวลาอ่านต้นฉบับผู้พูด
ต้องอ่านโดยใช้เสียงที่เหมือนกับเสียงพูดปกติ เพราะแม้นว่าผู้พูดจะเขียนข้อความด้วยคำพูดของตนเองก็ตาม
แต่ก็ไม่แน่ว่าเวลาเขาจะอ่านออกเสียงดุจเสียงพูดตามธรรมชาติของเขาหรือไม่
ดังนั้นเขาควรพยายามที่จะ แสดงพฤติกรรมทุกประการ นับตั้งแต่การแสดงออกทาง สีหน้า
แววตา น้ำเสียง ให้กลมกลืนกับเรื่องที่อ่านมากที่สุด
ดังที่กล่าวแล้วว่าการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับนี้ จะทำให้ผู้พูดไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางสายตา กับผู้ฟังได้ อันเนื่องจากผู้พูด ต้องละสายตาจากผู้ฟัง มาอยู่ที่ต้นฉบับตลอดเวลา แต่ผู้พูดก็อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยช่วงเวลาที่หยุดเว้นระยะในการพูด ก่อนที่จะอ่าน ข้อความต่อไป ผู้พูดควรเงยหน้าขึ้น มองผู้ฟังก่อนแล้วจึงอ่านต่อไป การกระทำเช่นนี้สำหรับคนเริ่มต้นฝึกหัดใหม่ๆ นับว่ายากมาก แต่เมื่อฝึกฝนบ่อย ๆ แล้วจะเกิดความชำนาญจนเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
ดังที่กล่าวแล้วว่าการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับนี้ จะทำให้ผู้พูดไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางสายตา กับผู้ฟังได้ อันเนื่องจากผู้พูด ต้องละสายตาจากผู้ฟัง มาอยู่ที่ต้นฉบับตลอดเวลา แต่ผู้พูดก็อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยช่วงเวลาที่หยุดเว้นระยะในการพูด ก่อนที่จะอ่าน ข้อความต่อไป ผู้พูดควรเงยหน้าขึ้น มองผู้ฟังก่อนแล้วจึงอ่านต่อไป การกระทำเช่นนี้สำหรับคนเริ่มต้นฝึกหัดใหม่ๆ นับว่ายากมาก แต่เมื่อฝึกฝนบ่อย ๆ แล้วจะเกิดความชำนาญจนเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
Casinos in Malta - Filmfile Europe
ตอบลบFind jancasino the best bsjeon.net Casinos in Malta including bonuses, games, games septcasino and the history of https://tricktactoe.com/ games. We cover all the main reasons to visit Casinos nba매니아 in