ตัวอย่างการพูด
ตัวอย่างการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ
ตัวอย่างที่ ๑
คำกล่าวรายงานการจัดการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง
บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ปัญหาวิกฤตสังคม
ในวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
โดย
ดร. จันทร์
วงษ์ขมทอง
ประธานกรรมการวิชาการ
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชาแห่งประเทศไทย
กราบเรียน
ท่านประธาน
ในนามของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ใคร่ขอแสดงความขอบคุณ
ฯพณฯ องคมนตรี ที่ได้ให้เกียรติ
และสละเวลาอันมีค่าของท่านมาเป็นประธานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาท
ของสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ปัญหาวิกฤตสังคม
ในวันนี้เป็นอย่างยิ่ง ดิฉันใคร่ขอกราบเรียนถึงหลักการ เหตุผล ของการจัดสัมมนา
ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมและประเทศชาติโดยตรง เป็นเรื่องที่
ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าประเทศของเรามีปัญหาที่ร้ายแรง โดยเฉพาะเรื่องปัญหาแรงงาน
อันเกิดจากความด้อยประสิทธิภาพ ของการจัดการบริหาร
ทำให้ครอบครัวขนบทซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาล่มสลาย ส่วนชุมชนในเมืองใหญ่
ก็เต็มไปด้วย ธุรกิจทางเพศ การล่อลวงเด็กหญิงเพื่อการค้าประเวณี และปัญหาโรคเอดส์
วัณโรค ยาบ้า อาชญากรรมแทบทุกรูปแบบ ความตายและความสูญเสียทรัพย์สิน
จากการจราจรและโรงงานอุตสาหกรรม และการทำลายแหล่งน้ำโดย โรงงานอุตสาหกรรม
และประชาชนส่วนหนึ่ง การจราจรติดขัดก่อให้เกิดผลทางลบคิดเป็นมูลค่าความสูญหายอย่างมหาศาล
มีการตัดไม้ทำลายป่า จนเหลือป่า เพียงร้อยละ ๑๘
ค่าแรงสำคัญมีราคาสูงกระทบต่อการผลิตสินค้าและการส่งออก การสาธารณูปโภค
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการพัฒนา ไม่มีคุณภาพและไม่เพียงพอ
เป็นวิกฤตการทางสังคมซึ่งหลายฝ่ายได้พยายามแก้ไขแต่ก็ไร้ผล จนทำให้คณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ กำหนดแผนและเป้าหมายการพัฒนาสังคมใหม่
การสัมมนาในวันนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะหาข้อเสนอแนะจากผู้เข้าสัมมนาซึ่งมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้าน อุดมศึกษา และการพัฒนาในการหาแนวทางแก้ไขและวิธีการพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามนโยบายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘
การสัมมนาจะเป็นการอภิปรายทั้งวัน โดยช่วงเช้าจะเป็นเรื่องสภาพปัญหา และบทบาทสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ปัยกาเยาวชน และสวัสดิการตามความมั่นคงแห่งชาติ และสิ่งเสพติด
สำหรับช่วงบ่าย เป็นเรื่องของสุขภาพอานามัย ปัญหาศีลธรรมทางเพศ และอุบัติภัย และมลพิษสิ่งแวดล้อม
บัดนี้ได้เวลาอันเป็นอุดมฤกษ์แล้ว ดิฉันใคร่ของกราบเรียนเชิญท่านประธานได้กระทำพิธีเปิดการสัมมนา และกล่าวปราศรัย เพื่อเป็นสิริมงคล ขวัญกำลังใจ และแนวทางการสัมมนาให้บรรลุวัตถุประสงค์
ขอกราบเรียนเชิญท่านประธาน
การสัมมนาในวันนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะหาข้อเสนอแนะจากผู้เข้าสัมมนาซึ่งมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้าน อุดมศึกษา และการพัฒนาในการหาแนวทางแก้ไขและวิธีการพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามนโยบายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘
การสัมมนาจะเป็นการอภิปรายทั้งวัน โดยช่วงเช้าจะเป็นเรื่องสภาพปัญหา และบทบาทสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ปัยกาเยาวชน และสวัสดิการตามความมั่นคงแห่งชาติ และสิ่งเสพติด
สำหรับช่วงบ่าย เป็นเรื่องของสุขภาพอานามัย ปัญหาศีลธรรมทางเพศ และอุบัติภัย และมลพิษสิ่งแวดล้อม
บัดนี้ได้เวลาอันเป็นอุดมฤกษ์แล้ว ดิฉันใคร่ของกราบเรียนเชิญท่านประธานได้กระทำพิธีเปิดการสัมมนา และกล่าวปราศรัย เพื่อเป็นสิริมงคล ขวัญกำลังใจ และแนวทางการสัมมนาให้บรรลุวัตถุประสงค์
ขอกราบเรียนเชิญท่านประธาน
ตัวอย่างที่ ๒
คำกล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง
บทบาทของการสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ปัญหาวิกฤติทางสังคม
วันจันทร์ที่ ๑๘
พฤศจิกายน ๒๕๓๙
ฯพณฯ ดร.อำพล
เสนาณรงค์ องคมนตรี
]
ท่านผู้เข้าร่วมสัมมนาและท่านแขกผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน
กระผมรู้สึกมีความยินดีและ
เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งทางสมาคม
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทยและทบวงมหาวิทยาลัยจัดขึ้นในวันนี้
กระผมเห็นด้วยกับรายงานของท่านประธานกรรมการ ฝ่ายวิชาการของสมาคม
ที่ได้กล่าวว่าสังคมของเรากำลังประสบกับปัญหา ในระดับที่รุนแรงน่าวิกนยิ่ง
ท่านทั้งหลายคงทราบดีว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนไม่น้อยได้พยายามที่จะคลี่คลายปัญหาและการจัดเตรียมแผนการทำงานใหม่ให้มีความเป็นไปได้
แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จนทำให้รู้สึกว่ายิ่งพัฒนาก็ยิ่งทำให้สังคมของเราเสื่อมลง
จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยและควรทำการวิจัยศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่า
อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาของเรามีปัญหาและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
สังคมของเราจึงจะเป็นสังคมที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน กระผมเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยของไทยเรามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
๔ ประการ ซึ่งได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการสังคม
และการรักษาจรรโลงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศ หลาย ๆ
มหาวิทยาลัยได้บรรลุเป้าหมายพอสมควร โดยเฉพาะในปัจจุบัน ทบวงมหาวิทยาลัย
ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
โดยจัดให้มี การประกันคุณภาพ และการควบคุมคุณภาพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของการพัฒนา ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
คงมีความเห็นพ้องกันว่าความก้าวหน้าของ การพัฒนาสังคมโดย มุ่งเน้นไปที่คุณภาพ
ชีวิตของคน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ ของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๘
นั้นย่อมขึ้นกับตัวแปรหรือปัจจัยสำคัญหลายอย่าง กระผมตระหนักดีว่า
การศึกษาเป็นปัจจัยและ ขบวนการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริงได้ หมายความว่า
เราจะต้องใช้สาระทางวิชาการ และขบวนการทางการศึกษา ที่จะทำให้เด็ก
และเยาวชนได้รู้ได้เข้าใจสาระความเป็นจริงของแก่นสารของชีวิตรู้จัก
และเข้าใจธรรมชาติและสามารถใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
แต่ถ้ามีก็จะเป็นการสูญเสียเพียงเล็กน้อย
ขณะเดียวกันเราก็ต้องพยายามค้นคว้าหาสิ่งใหม่มาทดแทนสิ่งที่กำลังจะหมดไป
และเป็นสิ่งที่ มีราคาค่าใช้จ่าย น้อยลง เพื่อให้เกิดการสมดุล การที่เราจำเป็นจะต้องทำเช่นนี้
ก็เพราะคนเรากับธรรมชาติแยกกันไม่ได้ ต้องมีลักษณะ พึ่งพาซึ่งกันและกัน
นั่นหมายความว่า การทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ก็คือการทำลายตนเอง ครอบครัว
และสังคม ซึ่งเกิดปัญหา หลายประการ ดังที่สมาคม ได้กล่าวถึง
จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาให้ได้ ผมขอกล่าวเพิ่มเติม
อีกเล็กน้อยว่าการจัดการการศึกษาที่ดีที่เหมาะสม
จะต้องกระทำในทุกระดับโดยเฉพาะในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปรียบเสมือน การปลูกต้นไม้
หากการเตรียมดิน การจัดการสิ่งแวดล้อม และการดูแลรักษาต้นไม้ ไม่ดีไม่ถูกต้อง เราก็จะไม่ได้รับประโยชน์
จากการปลูกต้นไม่นั้น ขณะเดียวกันก็จะเป็นผลร้ายด้วยซ้ำไป
ดังนั้นการที่เราจะปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการจัดการ พัฒนาให้ถูกต้อง
มาตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นปัญหาของสังคมดังที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นในการสัมมนาในวันนี้
ท่านทั้งหลายคงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดความเห็น
ในเรื่องบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการแก้ปัญหาวิกฤติทางสังคม
เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการแก้ปัญหาหาต่อไป กระผมมั่นใจว่าผลการสัมมนาครั้งนี้
จะบรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่ตั้งไว้ทุกประการ บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้วกระผมของเปิดการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่องบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการแก้ปัญหาวิกฤติ ทางสังคม ณ บัดนี้
ขออวยพรให้การสัมมนาจงดำเนินไปด้วยดีได้ผลสมปรารถนาอันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาวิกฤติทางสังคม
และเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ที่จะทำให้ประเทศของเราบรรลุขั้นการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป
และขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน
ขอขอบคุณ
๓. การพูดแบบพูดจากการท่องจำ
(Memorized Speech)
ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องแล้ว
การพูดแบบนี้ถือเป็นการ ท่อง มากกว่า
เพราะเกิดจาการท่องจำถ้อยคำที่เขียนไว้เป็นต้นฉบับสมบูรณ์ (Manuscript) หรือท่องจำแบบคำต่อคำนั่นเอง
ถ้าจะวิเคราะห์คุณค่าทางวาทศาสตร์หรือศาสตร์แห่งการพูดแล้วการพูดแบบนี้มีคุณค่าน้อย
การพูดแบบนี้นักพูดไม่นิยมใช้กันเพราะเป็นรากฐานที่จะทำให้ผู้พูด
เกิดความกังวลใจและความเคร่งเครียด อันเนื่องมาจาก ผู้พูดก็ไม่แน่ใจว่า
จะจดจำคำพูดได้ทุกถ้อยคำหรือเปล่า และถ้าหากเกิดการผิดพลาด
หลงลืมขึ้นมากลางคันผู้พูดก็จะเกิดความระหม่า และอาจไม่สามารถแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าได้ หรือแม้แต่เกิดการผิดพลาดขึ้นผู้ฟังจับได้ว่าเป็นการ ท่อง
เพระเสียงของผู้พูดจะราบเรียบเป็นทำนองเดียว (Monotonous) สายตาก็อาจจะไม่มองผู้ฟัง
ท่าทางประกอบก็อาจจะไม่มีทำให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและขาดความเชื่อถือต่อผู้พูดขึ้นได้
ดังนั้นผู้พูดที่จึงควรหลีกเลี่ยงการพูดแบบท่องจำต้นฉบับทั้งหมด
แต่อาจใช้วิธีการท่องจำเพียงเล็กน้อยหรือเพียงบางส่วน (Quotation) เท่านั้น จะดีกว่า
๔. การพูดแบบพูดโดยการเตรียมตัวหรือการพูดจากความเข้าใจ
(Extemporaneous Speech)
เป็นการพูดจากใจ
จากภูมิรู้ และจากความรู้สึกจริง ๆ ของผู้พูดเอง
เป็นการพูดที่นิยมใช้กันมากที่สุดเพราะมีข้อดีหลายประการ คือ
– เป็นตัวของตัวเอง
– เป็นตัวของตัวเอง
-
พรั่งพรู
-
เป็นธรรมชาติ
- เร้าใจ
- จริงใจ
- แสดงภูมิรู้ของตนเอง
- ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับเวลาได้
- ตอบปัญหาผู้ฟังและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
ซึ่งก่อนการพูดแบบนี้ผู้พูดต้องเตรียมตัวในการคัดเลือกหัวข้อเรื่อง ค้นหาเนื้อเรื่อง แนวคิดและตัวอย่าง จากนั้นเรียบเรียงเนื้อเรื่อง แนวคิด และตัวอย่างให้สมบูรณ์และอ่านให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเตรียมตัว ดังนี้
- เร้าใจ
- จริงใจ
- แสดงภูมิรู้ของตนเอง
- ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับเวลาได้
- ตอบปัญหาผู้ฟังและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
ซึ่งก่อนการพูดแบบนี้ผู้พูดต้องเตรียมตัวในการคัดเลือกหัวข้อเรื่อง ค้นหาเนื้อเรื่อง แนวคิดและตัวอย่าง จากนั้นเรียบเรียงเนื้อเรื่อง แนวคิด และตัวอย่างให้สมบูรณ์และอ่านให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเตรียมตัว ดังนี้
๑. ขั้นเตรียมตัวทั่วไป
ได้แก่
การที่ผู้พูดพยายามหาความรู้ อ่านมาก ฟังมาก
เพราะผู้ที่มีความรู้กว้างขวางมักเป็นนักพูดที่ดี ความรู้ในเรื่องต่างๆ
จะช่วยให้การพูดสนุกสนานน่าฟังและช่วยสร้างศรัทธาแก่ผู้ฟังด้วย
๒. ขั้นเตรียมตัวเฉพาะคราว
ได้แก่
การที่ผู้พูดเตรียมตัวพูดเฉพาะในคราวใดคราวหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนวิธีการดังนี้
๒.๑ เมื่อได้รับเชิญให้พูด ผู้พูดต้องมีวิธีการเตรียมตัวล่วงหน้าพอสมควร
ถ้าสามารถเลือกเรื่องที่จะพูดเองได้ผู้พูดควรเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับตัวเอง
เหมาะสมกับผู้ฟัง
และเหมาะสมกับโอกาสที่จะพูดจากนั้นจึงค่อนรวบรวมเอกสารหรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด
เรียก ขั้นนี้ว่าขั้นเตรียมการ (Invention)
๒.๒
เมื่อได้เอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดแล้ว
ผู้พูดก็จะจัดเนื้อหาให้เหมาะสมว่า คำนำ เนื้อเรื่อง
และสรุปควรจะมีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง คัดมาจากเอกสารฉบับใดบ้าง
อะไรที่ไม่เหมาะสมก็ตัดทิ้งไป เรียกขั้นนี้ว่าขั้นรวบรวม (Disposition)
๒.๓
เมื่อเตรียมเนื้อเรื่องในแต่ละตอนแล้วผู้พูดจะต้องเตรียมต่อไปว่าเนื้อเรื่องในแต่ละตอนนั้น
ควรจะพูดอะไรก่อนหลัง ควรใช้สำนวนโวหารอย่างไร ใช้ภาษาระดับใดจึงจะเหมาะสม
กับผู้ฟัง เรียกขั้นนี้ว่าขั้นวิธีการ (Style)
๒.๔
เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว เราก็จัดเรื่องที่จะพูดให้เป็นส่วนๆ โดยมีคำนำ เนื้อเรื่อง
และ สรุป เรียกขั้นนี้ว่าขั้นโครงเรื่อง (Form)
๒.๕
เมื่อผู้พูดได้เรื่องที่เหมาะสมที่จะพูดแล้ว
หากนำไปพูดทันทีอาจจะพบปัญหาบางอย่างได้
ดังนั้นผู้พูดจึงต้องทดลองพูดด้วยตนเองเสียก่อน เรียกขั้นนี้ว่าขั้นฝึกซ้อม (Rehearsing)
ในการพูดแบบนี้หากผู้พูดกลัวว่าจะลืมเนื้อเรื่องที่เตรียมไว้
ผู้พูดอาจบันทึกสั้นๆ นำติดตัวขึ้นไปพูดด้วย หากตอนใดผู้พูด
เกิดการหลงลืมก็อาจหยิบบันทึกนั้นขึ้นมาดูเพื่อให้สามารถพูดได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
ซึ่งวิธีการบันทึก และการใช้บันทึกในเวลาพูด ผู้พูดควรปฏิบัติดังนี้
๑) การเตรียมบันทึก
ในบันทึกนั้นจะประกอบด้วย
ลำดับขั้นตอนแนวคิดที่จะเสนอต่อผู้ฟัง โดยทั่วไปมักเขียนไว้เพียงคำเดียวหรือ
สองคำเท่านั้น เพื่อช่วยความจำ บันทึกที่ดีควรทำด้วยกระดาษการ์ดแข็งเพราะใช้สะดวก
บนมุมกระดาษการ์ด ควรเขียน เลขกำกับบอกแผ่นไว้ เช่น ๑-๒-๓-๔ ฯลฯ
(๒) การใช้บันทึกเวลาพูด
เมื่อผู้พูดก้าวขึ้นไปยืนบนเวทีผู้พูดควรวางกระดาษไว้บนโต๊ะ
หรือถือไว้ในมือในลักษณะที่ไม่เกะกะ เมื่อต้องการจะ ใช้กระดาษบันทึก
ผู้พูดควรหยิบกกระดาษบันทึกมาอ่านโดยตรงหรือมิเช่นนั้นอาจจะอ่านบันทึกในลักษณะที่คนฟังไม่เห็นบันทึก
คือ วางอ่านกับโต๊ะนั่นเอง อนึ่งผู้พูดอย่าไปมัวพึ่งบันทึกอย่างเดียว
ก่อนการพูดผู้พูดควรทบทวนเนื้อเรื่อง หัวข้อ ขั้นตอน และแนวคิดจนจำได้ตลอด
เมื่อทำได้เช่นนี้ผู้พูดจะกลายเป็น นาย ของเรื่องที่พูดโดยละเอียด
0 ความคิดเห็น: