หลักการทั่วไปในการพูด
หลักการทั่วไปในการเตรียมตัวเพื่อเป็นนักพูดที่ดี]
เท่าที่ผ่านมามีนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ได้ให้หลักเกณฑ์สำหรับการฝึกฝนการพูดเอาไว้มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่งมีสารประโยชน์
ทั้งสิ้น แต่เนื่องจาก เนื้อที่ในหนังสือเล่มนี้มีจำกัด
ผู้เรียบรียงจึงใคร่ของนำเสนอเฉพาะหลักการฝึกฝนการพูดของนักวิชาการบางท่านที่น่าสนใจ
และไม่ยุ่งยากในการทำควรเข้าใจ อาทิเช่น
๑. หลักสิบประการของสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
๑.๑ จงเตรียมพร้อม
๑.๒ จงเชื่อมั่นในตนเอง
๑.๓ จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย
๑.๔
จงพูดโดยใช้เสียงอันเป็นธรรมชาติ
๑.๕
จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ
๑.๖
จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด
๑.๗ จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ
๑.๘ จงใช้อารมณ์ขัน
๑.๙ จงจริงใจ
๑.๑๐ จงหมั่นฝึกฝน
๒. หลักเบื้องต้นเจ็ดประการ
ของ ซาเร์ทท์ และ ฟอสเตอร์
ซาเร์ทท์ (Sareet)
และ ฟอสเตอร์ (Foster) ได้ให้หลักเบื้องต้น ๗
ประการสำหรับฝึกในการพูดไว้ดังต่อไปนี้
๒.๑
การพูดที่ดีมิใช่เป็นการแสดง แต่เป็นการสื่อความหมาย
๒.๒
ผลสำคัญของการพูดที่ดี ก็คือ การสร้างปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ฟังได้สำเร็จ
๒.๓
ผู้พูดที่ดีย่อมรู้จัดวิธีการต่างๆ
ในการพูดเพื่อที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความใส่ใจอย่างเต็มที่เมื่อผู้พูดต้องการ
๒.๔
การพูดที่ดีต้องมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ตรงไปตรงมาง่ายๆ
เป็นกันเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๒.๕ ผู้พูดที่สามารถ คือ
บุคคลที่สามารถเป็นผู้มีเสถียรภาพทางอารมณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและต่อผู้ฟัง
๒.๖
การที่ผู้ฟังจะมีความรู้สึกประทับใจอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้พูดนั้น
ขึ้นอยู่กับลักษณะต่างๆ ในตัวผู้พูดเอง
โดนเฉพาะลักษณะที่ ไม่ใคร่ปรากฏ เด่นชัด
๒.๗
อิริยาบถที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่ช่วยทำให้เกิดการพูดนั้น ๆ
เป็นการพูดที่ดี
๓. หลักบันได
๗ ขั้นของการพูด ของ ดร.นิพนธ์ ศศิธร
ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้กล่าวถึงบันได ๗
ขั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้
๓.๑ การรวบรวมเนื้อหาที่จะพูด
๓.๒ การจัดระเบียบเรื่อง
๓.๓ การหาข้อความอื่นๆ
มาประกอบหรือขยายความออกไป
๓.๔ การเตรียมอารัมภบทหรือบทนำ
๓.๕ การเตรียมบทสรุป
๓.๖ การซักซ้อมการพูด
๓.๗ การแสดงการพูด
ซึ่งบันไดทั้ง ๗
ขั้นของการพูดข้างต้น มีเนื้อหาที่น่าสนใจ
ผู้เรียบเรียงจึงขอสรุปและเรียบเรียงมาไว้ ให้เห็นพอสังเขปดังนี้
บันไดขั้นที่หนึ่ง : การรวบรวมเนื้อหาสาระที่จะพูด
ความสำเร็จในการพูดอยู่ที่การผสมกลมกลืนอย่างแนบสนิทระหว่างความรู้สึกและเหตุผล
ดังนั้น การเตรียมตัวที่ดี
จึงควรเริ่มต้นจากข้อกำหนดและความคิดเห็นของผู้พูดเสียก่อน
แล้วเอาสิ่งเหล่านี้มาทำเป็นโครงร่างไว้ จากนั้นจึงค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอื่นๆ
มาประกอบให้สมบูรณ์ต่อไป บันไดขั้นที่ ๑ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
๑. เริ่มต้นด้วยความคิดก่อนว่าในเรื่องที่จะพูดก่อนนั้นมีเนื้อหาอะไรบ้างที่รู้ดีอยู่แล้ว
และยังมีอะไรอีกบ้างที่ยังไม่รู้และจะต้องค้นคว้าต่อไป
๒. รวบรวมเนื้อหาจากการสังเกตการณ์
การสังเกตการณ์ที่ดีจะต้องกระทำด้วยตนเองโดยตรงอย่างครบถ้วน ถูกต้องแม่นยำ
และปราศจากความลำเอียง ต้องสามารถแยกจุดเด่นจากการสังเกตการณ์ที่ได้มาให้ได้
๓. รวบรวมเนื้อหาจากการติดต่อกับบุคคลอื่น
โดยการสนทนา การสัมภาษณ์ หรือการติดต่อทางจดหมาย
แต่ละอย่างก็มีหลักเกณฑ์โดยเฉพาะออกไปอีก ซึ่งจะไม่กล่าวไว้ ณ ที่นี้ ๔. รวบรวมเนื้อหาจากการอ่าน
ต้องอ่านให้เป็นไม่ใช้ตะลุยอ่านไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์จะเสียเวลาโดยไม่มีประโยชน์
บันไดขั้นที่สอง : การจัดระเบียบเรื่อง
บันไดขั้นที่ ๒ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ
ดังนี้
๑. การเขียนโครงเรื่อง เพื่อเป็นหลักในการดำเนินการขยายความเพิ่มเติมต่อไป
อย่างมีระเบียบ และมีความต่อเนื่องกัน โดยการรวบรวมและแบ่งแยกแนวความคิดใหญ่ ๆ
ออกเป็นหมวดหมู่เป็นข้อย่อย ๆ ลดหลั่นกันไป
๒. การจัดระเบียบเนื้อเรื่องที่จะพูด เป็นการเลือกใจความสำคัญของเรื่อง จดบันทึกแล้วแยกแยะ ให้เข้าหมวดหมู่ ตามความเหมาะสมต่อไป มี ๖ แบบให้เลือกกระทำดังนี้
๒. การจัดระเบียบเนื้อเรื่องที่จะพูด เป็นการเลือกใจความสำคัญของเรื่อง จดบันทึกแล้วแยกแยะ ให้เข้าหมวดหมู่ ตามความเหมาะสมต่อไป มี ๖ แบบให้เลือกกระทำดังนี้
๒.๑ เรียงตามลำดับเวลา
๒.๒ เรียงตามลำดับสถานที่
๒.๓ เรียงตามลำดับเรื่อง
๒.๔ แบบเสนอปัญหาและวิธีแก้
๒.๕ แบบแสดงเหตุและผล
๒.๖ แบบเสนอเป็นข้อเท็จจริง
แบบต่างๆ ทั้ง ๖ แบบที่กล่าวนี้
อาจเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบผสมกันไปก็ได้
บันไดขั้นที่สาม : การหาข้อความอื่น ๆ มาประกอบหรือขยายความออกไป
มีหลักในการปฏิบัติดังนี้
๑. หารูปแบบของการขยายความ โดยอาจใช้วิธีการดังนี้
๑.๑
โดยการยกอุทาหรณ์หรือตัวอย่าง
๑.๒ โดยการใช้สติ
๑.๓ โดยการเปรียบเทียบหรืออุปมา
๑.๔
โดยการอ้างอิงคำพูดหรือคำกล่าวของบุคคลอื่นที่มีน้ำหนักในเรื่องนั้นๆ
๑.๕
โดยการกล่าวซ้ำหรือย้ำโดยเปลี่ยนวิธีการพูดใหม่
๑.๖
โดยการอธิบายเพิ่มเติมให้กระจ่างแจ้ง
๑.๗
โดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา
๒. การใช้ทัศนูปกรณ์กระกอบ ต้องใช้เหมาะสม
ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ หรือเบี่ยงเบนความสนใจ ของผู้ฟังออกไป จากเรื่องที่พูดนั้น
๓. ข้อความที่จะนำมาขยายหรือประกอบนั้น จะต้องเสริมสร้างความสนใจของผู้ฟังให้ตั้งใจฟังมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเรื่องหรือ ข้อความที่ยกมาจะต้องมีลักษณะดังนี้
๓.๑ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือความเป็นอยู่ของผู้ฟังมากที่สุด
๓.๒
ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพหรือเข้าใจชัดเจนจริง ๆ
๓.๓
เป็นเรื่องที่สำคัญหรือโดดเด่น
๓.๔
ไม่ทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนความสนใจ หรือเปลี่ยนอารมณ์ของผู้ฟังไปในทางที่ไม่ต้องการ
๓.๕ ถ้าเป็นเรื่องขำขัน
ต้องสุภาพ ไม่ก้าวร้าวผู้ฟัง และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ออกนอกเรื่อง
บันไดขั้นที่สี่ : การเตรียมอารัมภบทหรือบทนำ
มีหลักในการปฏิบัติดังนี้
๑. การใช้
คำนำ เพื่อเรียกร้องให้เกิดความสนใจมีความสำคัญมากที่สุด
การเรียกร้องให้เกิดความสนใจ อาจกระทำได้ โดยวิธีการต่างๆ ดังเช่น
๑.๑
เน้นถึงความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
๑.๒ ใช้เรื่องหรือคำพูดที่คำขัน
แต่อย่าใช้มากจนทำให้ผู้พูดเป็นตัวตลกจนเกินไป
๑.๓
ยกอุทาหรณ์ที่ตรงกับเรื่องหรือไม่ออกนอกเรื่อง
๑.๔
เริ่มด้วยการยกข้อความหรือคำพูดที่ก่อให้เกิดความตื่นใจ ซึ้งใจ หรือไพเราะ
๑.๕ กล่าวถึงความรู้สึก
ความเชื่อถือ ผลประโยชน์ หรือความเป็นอยู่ร่วมกัน
ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียว
กัน ไม่ใช่ศัตรูกัน
๑.๖ กล่าวนำด้วยการตั้งปัญหาที่เร้าใจ
๑.๖ กล่าวนำด้วยการตั้งปัญหาที่เร้าใจ
๑.๗ ใช้คำพูดที่เร้าใจ
หรือไพเราะน่าสนใจ
๑.๘ กล่าวสรรเสริญยกย่องผู้ฟัง
๒. การทำให้เรื่องกระจ่างขึ้น
๒.๑ กล่าวถึงจุดใหญ่ ๆ ที่จะพูด
๒.๒
กล่าวถึงหัวข้อเรื่องที่สำคัญ
๒.๓
พรรณนาถึงเบื้องหลังหรือประวัติของเรื่องนั้น ๆ
๓. ข้อที่ไม่ควรกระทำ
๓.๑
ออกตัวหรือขอโทษว่าเตรียมตัวมาไม่พอ หรือมีความรู้ไม่ดีพอ
๓.๒ พูดเยิ่นเย้อวกวนไปมา
๓.๓ พูดจาเป็นเชิงดุแคลนผู้ฟัง
๓.๔ พูดออกนอกเรื่อง
บันไดขั้นที่ห้า : การเตรียมบทสรุป
ประกอบด้วยหลักการสำคัญ ๆ ดังนี้
๑.๑
กล่าวถึงข้อใหญ่ใจความของเรื่องทั้งหมด
๑.๒
เรียงลำดับหัวข้อความคิดที่ได้กล่าวมาแล้ว
๑.๓ อธิบายทบทวน
๒. เร้าใจให้เกิดผลตามที่ต้องการ
๒.๑
ใช้เฉพาะการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจูงใจผู้ฟังเท่านั้น
๒.๒
แสดงให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้ฟังทำอะไร
๒.๓
จะต้องชักจูงทั้งอารมณ์และเชาวน์ปัญญาของผู้ฟัง
๓. ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการสรุป
๓.๑ ขอโทษว่าเตรียมตัวมาไม่พอ
หรือมีความรู้ไม่ดีพอ
๓.๒ สรุปสั้นเกินไป
หรือเยิ่นเย้อเกินไป
๓.๓ เสนอความคิดใหม่ที่สำคัญขึ้นมา
๓.๔ พูดออกนอกเรื่อง
๓.๕ ทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจ
บันไดขั้นที่หก : การซักซ้อมการพูด
มีความสำคัญมาก
เพราะทำให้ผู้พูดจำเนื้อหาที่จะพูดได้ ไม่ประหม่า
และมีท่าทางเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ในขั้นนี้ผู้พูดต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
๑. ซ้อมที่ไหน
๒. ซ้อมเมื่อไร
๓. ซ้อมอย่างไร แบ่งออกเป็น
๓.๑ กำหนดการพูด น้ำเสียง
และท่าทาง
๓.๒ ปรับปรุงถ้อยคำให้สละสลวย
บันไดขั้นที่เจ็ด : การแสดงการพูด
แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
ส่วนที่ ๑
หลักการทั่วไป
๑. หลักการทั่วไปสำหรับการแสดงการพูด
มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
๑.๑ พูดให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์และเข้าใจชัดแจ้ง
๑.๒
พูดให้เข้ากับสถานการณ์ทั้งหมด
๑.๓ พูดจากใจจริง
๑.๔ สุภาพ ไม่อวดอ้าง
๑.๕ มีความเชื่อมั่น
และก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผุ้ฟัง
๑.๖
ไม่ทำให้ผู้ฟังหลงเพลินแต่เฉพาะน้ำเสียงหรือท่าทางเท่านั้น
๑.๗ มีชีวิตชีวา
ส่วนที่ ๒
การใช้กิริยาท่าทางประกอบ
การใช้กิริยาท่าทางประกอบ
มีความสำคัญเนื่องจาก
๑. ช่วยให้ปรับตัวเป็นปกติได้ดีขึ้น
๒. ช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ
๓. ช่วยให้แสดงความหมายได้ชัดเจนขึ้น
๔. ช่วยในการเน้นหนักต่างๆ
๔. หลักชัยแห่งการพูดของ
เดล คาร์เนกี
๔.๑
จงทำให้เรื่องที่พูดชัดเจนจนแจ่มกระจ่าง
๔.๒
จงทำให้เรื่องที่พูดสนุกสนานและไม่น่าเบื่อ
๔.๓
จงพูดโน้มน้าวและชักชวนจนทำให้เกิดการปฏิบัติ
๔.๔ จงทำให้การพูดประทับใจผู้ฟัง
ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติในการฝึกฝนการพูด
มีนักพูดและนักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนะวิธีการฝึกฝนการพูดเอาไว้
คล้ายคลึงกันบ้างแตกต่างกันบ้าง ยกตัวอย่างให้ศึกษา และเปรียบเทียบกัน เพียง ๓
ท่าน คือ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ดร.สวัสดิ์ บรรเทิงสุข
และเพียรศักย์ ศรีทอง ซึ่งแต่ละท่านก็ได้เสนอแนะวิธีการ ในการฝึกฝนการพูดเอาไว้
แตกต่างกันไป แต่ก็ทำให้เราได้รับความรู้ในการพัฒนาตนเองอย่างกว้างขวาง
ท่านแรกที่จะกล่าวถึงคือ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกฝน การพูดว่า
สารถกระทำได้ ๓ วิธี คือ
๑. การฝึกพูดด้วยวิธีธรรมชาติ
๒. การฝึกพูดจากตำรา
๓. การฝึกพูดโดยผู้แนะนำ
ซึ่งแต่ละวิธีพอสรุปได้ดังนี้
วิธีแรก การฝึกพูดด้วยวิธีธรรมชาติ หมายถึง การฝึกฝนด้วยตนเอง
ผู้พูดต้องชอบพูดชอบแสดงออก เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ ให้มี ชั่วโมงบิน มาก
ๆ ก็อาจกลายเป็นนักพูดที่ดีได้
ยิ่งถ้ามีปฏิญาณไหวพริบดีด้วยก็อาจจะจับหนทางได้เร็วและประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก
แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร
วิธีที่สอง การฝึกพูดจากตำรา โดยอาศัยตำราซึ่งมีผู้เขียนไว้มากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้พูดสามารถเลือกอ่าน ศึกษาได้ตามใจชอบ ที่สำคัญผู้ที่ศึกษาจากตำรานั้นต้องหาโอกาสฝึกปฏิบัติจริง ๆ โดยอาจฝึกจากงานสังคมต่าง ๆ หรือฝึกในงานอาชีพของตนเองก็ได้ โดยถ้านำความรู้และ เทคนิคใหม่ ๆ จากตำรามาใช้ประกอบด้วยก็จะทำให้เก่งเร็วขึ้น
วิธีที่สอง การฝึกพูดจากตำรา โดยอาศัยตำราซึ่งมีผู้เขียนไว้มากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้พูดสามารถเลือกอ่าน ศึกษาได้ตามใจชอบ ที่สำคัญผู้ที่ศึกษาจากตำรานั้นต้องหาโอกาสฝึกปฏิบัติจริง ๆ โดยอาจฝึกจากงานสังคมต่าง ๆ หรือฝึกในงานอาชีพของตนเองก็ได้ โดยถ้านำความรู้และ เทคนิคใหม่ ๆ จากตำรามาใช้ประกอบด้วยก็จะทำให้เก่งเร็วขึ้น
วิธีสุดท้าย การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนำ หมายถึง
การมีพี่เลี้ยงดี ๆ คอยให้คำแนะนำ อาจจะเป็นการแนะนำซักซ้อมให้เป็นการส่วนตัว
เป็นครั้งคราว หรือจัดกลุ่มฝึกพูดขึ้น โดยมีการฝึกฝนกันเป็นประจำก็ได้
ท่านต่อไป คือ ดร.สวัสดิ์ บรรเทิงสุข ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกฝนการพูดไว้อย่างละเอียดว่าสมารถกระทำได้ ๒ วิธีคือ
ท่านต่อไป คือ ดร.สวัสดิ์ บรรเทิงสุข ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกฝนการพูดไว้อย่างละเอียดว่าสมารถกระทำได้ ๒ วิธีคือ
๑. การฝึกพูดแบบไม่เป็นทางการ
๒. การฝึกพูดแบบเป็นทางการ
ซึ่งแต่ละวิธีผู้เรียบเรียงใคร่ของนำเสนอไว้พอสังเขป
ดังนี้
วิธีแรก
การฝึกพูดแบบไม่เป็นทางการ
การฝึกพูดแบบไม่เป็นทางการ
หมายถึง การฝึกพูดที่มิได้จัดเป็นรูปแบบที่แน่นอน ซึ่งได้แก่ การฝึกพูดด้วยตนเอง
การฝึกพุดเช่นนี้ ผู้พูดต้องอาศัย
ความอดทนอย่างยอดเยี่ยมประกอบกับความตั้งใจจริงเป็นพลังอันสำคัญ
ข้อแนะนำสำหรับการฝึกพูด แบบไม่เป็นทางการ หรือการฝึกพูดด้วยตนเองนั้น มีลำดับขั้นในการปฏิบัติดังนี้
๑. จงเป็นนักอ่านที่ดี
โดยการอ่านตำราและข้อแนะนำการพูดให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
๒. จงเป็นนักฟังที่ดี โดยการติดตามฟังการพูดในทุกโอกาสให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
ทั้งการพูดของนักพูดที่มีชื่อเสียงและนักพูดทั่ว ๆ ไปแล้วพยายามวิเคราะห์ว่าสิ่งใดที่ผู้พูดทำได้เหมาะสมหรือสิ่งใดไม่ควรทำ
๓. จงใช้เครื่องบันทึกเสียงให้เป็นประโยชน์
โดยการบันทึกการพูดที่ดีเอาไว้
แล้วเปิดฟังให้บ่อยที่สุดจนจำได้ขึ้นใจว่าตอนใดเป็นตอนที่ดีที่สุด ตอนใดเด่น
ตอนใดด้อย เพราะเหตุใด
๔. จงบันทึกเสียงพูดของท่าน โดยการบันทึกทั้งการพูดในที่ชุมนุมชน
และการพูดคนเดียว แล้วเปิดฟังบ่อย ๆ ให้ขึ้นใจว่าตอนใดว่าด้อย ตอนใดเด่น
เพราะเหตุใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเดียวกัน จงบันทึกและฟังเสียงของท่านเองหลาย
ๆ ครั้ง เพื่อที่จะได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องให้ได้
๕. จงพยายามหาโอกาสฝึกพูดต่อหน้ากระจกเงา โดยการพูดแลฝึกฝนการใช้ท่าทางประกอบโดยไม่กระดากอายหรือเคอะเขิน
เพราะวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง
๖. จงเริ่มฝึกหัดด้วยความมุ่งมั่นจากง่ายไปหายามเป็นลำดับ ดังนี้
๖.๑ การพูดให้คำจำกัดความสิ่งที่เป็นรูปธรรม
๖.๒ การพูดอธิบายคำพังเพยหรือภาษิต
๖.๓ การพูดเพื่อให้คำจำกัดความสิ่งที่เป็นนามธรรม
๖.๔ การพูดเพื่อให้เหตุผลสนับสนุน
๖.๕ การพูดเพื่อให้เหตุผลคัดค้าน
๖.๖ การพูดในเชิงอภิปรายหรือวิจารณ์
๗. จงฝึกเขียนประกอบการฝึกพูด โดยการร่างประกอบให้ครอบคลุมสิ่งที่พูดไว้ทั้งหมดแล้วอ่านซ้ำหลาย
ๆ เที่ยว หลังจากนั้นจงฝึกพูดจากบันทึก
จนกระทั่งพูดโดยไม่มีบันทึกหรือใช้บันทึกแต่น้อย
๘. จงอย่าละเลยเมื่อมีโอกาสที่จะได้พูดจริง ๆ
ต่อหน้าผู้ฟัง โดยการเตรียมตัวให้มากจนเกิดความมั่นใจ
บางตอนที่สำคัญท่านจะต้องท่องจำให้ได้ โดยเฉพาะการขึ้นต้น และการจบจะต้องท่องจำเอาไว้ให้ได้
๙. จงเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ลอกเลียนแบบอย่างใด
ๆ ไปทั้งหมด จงนึกอยู่เสมอว่าท่านมิได้กำลังพูดแทนใคร แลไม่มีใครพูดแทนท่านได้
ท่านล้มเหลวในแบบของท่านเองดีกว่าท่านชนะในแบบของผู้อื่น
วิธีที่สอง
การฝึกพูดแบบเป็นทางการ
การฝึกพูดแบบเป็นทางการ
หมายถึง การฝึกพูดที่มีรูปแบบที่แน่นอน มีบทฝึก มีขั้นตอนโดยเฉพาะ
ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การฝึกพูดแบบ เป็นทางการที่ปฏิบัติกันอยู่ในสโมสรฝึกพูดต่างๆ
โดยสรุปเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้
๑. โครงสร้างของสโมสรฝึกพูด
๒. ขั้นตอนการฝึกพูด
๓. การดำเนินรายการฝึกพูด
๑. โครงสร้างของสโมสรฝึกพูดล
โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของสโมสรฝึกพูด
จะจัดเป็นรูปคณะกรรมการเช่นเดียวกันกับสโมสรทั่ว ๆ ไป คือ มีนายกสโมสร อุปนายก
เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม และประชาสัมพันธ์ ซึ่งในแต่ละสโมสรอาจมีหน้าที่ต่างๆ
แตกต่างกัน ไปได้
๒. ขั้นตอนการฝึกพูด
ขั้นตอนการฝึกพูดของสโมสรฝึกพูดนั้น
มักจะดำเนินการเป็น ๔ ขั้นตอน คือ
๒.๑ การฝึกพูดแบบฉับพลัน ได้แก่
การเชิญให้สมาชิกพูดในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยที่ผู้พูดไม่มีโอกาสเตรียมตัวมาล่วงหน้าจะใช้เวลาการพูดเพียง
๒-๓ นาที
๒.๒ การฝึกพูดแบบเตรียมตัว ได้แก่ การฝึกพูดในบทเรียนหรือเนื้อหาและบทฝึกพูดตามมุ่งหมายของบทเรียนหรือบทฝึกที่มีความมุ่งหมายเฉพาะ
อย่างกำหนดไว้ จะมีเวลาในการพูด ๕-๗ นาที
และผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดได้ตามต้องการ
๒.๓ การวิจารณ์การพูด ได้แก่
ขั้นตอนที่ผู้พูดหรือสมาชิกฝึกพูด ได้รับการประเมินผล
และคำแนะนำในการแก้ข้อบกพร่อง
ของแต่ละคนสำหรับเป็นข้อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นสำหรับการพูดครั้งต่อไป
๓. การดำเนินรายการฝึกพูด
การดำเนินรายการฝึกพูดของสโมสรแต่ละแห่ง
อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้าง ตามความเหมาะสม แต่โดยมาก มักมีการกำหนด นัดหมาย ให้มีรายการฝึกพูด
สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ครั้งละ ประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง
โดยมีรายการเป็นลำดับ ส่วนท่านสุดท้ายที่จะกล่าวถึง คือ เพียรศักย์ ศรีทอง
ซึ่งได้กล่าวถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติในการฝึกฝนการพูดไว้อย่างละเอียด และน่าสนใจมาก
โดยพอจะเรียบเรียงเป็นขั้นตอน ได้ดังนี้
๑. การฝึกฝนให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ควรต้องฝึกดังเรื่องในต่อไปนี้
๑.๑
ฝึกนิสัยรักการอ่าน
๑.๒
ฝึกนิสัยรักการฟัง
๑.๓
ฝึกนิสัยในการคิดสร้างสรรค์
๑.๔
ฝึกจดจำเรื่องราวต่าง ๆ
ซิเซโร (Cicero ) นักพูดผู้โด่งดังชาวโรมัน
เมื่อ ๑๐๖ - ๖๓ ปีก่อนคริสตกาล ได้กล่าวเกี่ยวกับ
ความจำของมนุษย์ไว้ว่า ความจำคือคลังและยามเฝ้าสรรพสิ่ง หมายถึง
ความจำเป็นแหล่งสะสมความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ของมนุษย์ ในเรื่องของการฝึกความจำนั้น แฮร์รี่ โลเรน กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
เทคนิคการช่วยความจำมีบทบาทสำคัญ
และเป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย คำว่า "นีมอนิค"
(Mmemornic) แปลว่า เทคนิคการช่วยความจำนั้น มาจากคำว่า "นีมอซีน" (Mnemosyne) ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาองค์หนึ่งของชาวกรีกโบราณ
ได้ชื่อว่าเป็นเทพธิดาแห่งความจำ นั่นก็แสดงว่า เทคนิคการช่วยจำมีมานานแล้ว
ตั้งแต่อารยธรรมกรีกยุคต้น ๆ เป็นเรื่องที่แปลกคือ ระบบการจดจำที่สามารถฝึกฝนได้
ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้และนำมาใช้กัน คนที่รู้จักนำมาใช้ ไม่เพียงแต่จะแปลกใจ
ที่ตนมีความสามารถในการจดจำดี แต่ยังแปลกซ้ำไปอีกที่ได้รับแต่คำชมเชย
ยกย่องจากเพื่อนฝูง และสมาชิกของครอบครัว บางคนเห็นว่าเทคนิคการจำเหล่านี้มีค่าเกินกว่า
จะไปถ่ายทอดให้คนอื่น
๒. ฝึกกล่าวคำพูดให้ถูกต้องตามสำเนียงภาษาพูด
การฝึกพูดของนักพูดทั้งหลาย
สิ่งแรกที่ควรให้ความสนใจ ก็คือ ฝึกการออกเสียงภาษาที่พูดให้ถูกต้องชัดเจน
โดยเฉพาะ การออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้องชัดเจน กรณีที่ไม่ออกเสียงเหมือนอักษรที่เขียนมีอยู่
๒ ชนิด ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง รำคาญหู คือ
๑. ตัว "ร" กลายเป็น "ล" การกระทำเช่นนี้บางครั้งอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้
๒. ตัวกล้ำ เช่น พูดว่า "ปับปุง" แทนที่จะออกเสียงกล้ำว่า "ปรับปรุง" ถ้อยคำที่คนส่วนใหญ่ออกเสียงผิด พอจะยกตัวอย่างได้ไม่ยาก อาทิเช่น
๒.๑
ถ้อยคำที่เขียนด้วย "ร" และ "ล" ๒.๒
ถ้อยคำที่ออกเสียงเป็นเสียงควบคล้ำ เช่น กว้างขวาง
ไขว้เขว พลัดพราก คลี่คลาย เพลิดเพลิน แพร่พราย ตรวจตรา ตรึงตรา ฯลฯ ๒.๓ ถ้อยคำที่เป็นคำศัพท์ต่าง ๆ ในภาษาไทยเรามีการสร้างคำใหม่ขึ้นมา
โดยวิธีการสร้างคำสมาส คำสนธิ คำประสม คำซ้อน ฯลฯ
คำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ออกเสียงไม่เป็นไปตามรูปศัพท์ โดยเฉพาะคำศัพท์ ที่เป็นคำ
สมาส หรือคำประสม เช่น
ประสบการณ์
ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "ประ - สบ - กาน"
กาลสมัย ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "กาน - ละ - สะ - หมัย"
ปรัชญา ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "ปรัด - ยา"
กาลสมัย ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "กาน - ละ - สะ - หมัย"
ปรัชญา ออกเสียงที่ถูกต้องว่า "ปรัด - ยา"
๓. การฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง นักพูดที่ดีต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
การฝึกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น แก่ตนเองจนเกิดเป็นนิสัย ผู้ฝึกจะต้องมีความตั้งใจ
อดทน ฝึกฝนตนเองในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑
ฝึกสร้างพลังจิตให้มีปมเด่น
๓.๒ ฝึกตนให้เป็นคนกล้าพูด
๓.๓
ฝึกการใช้สายตาและกิริยาท่าทางเวลาพูด
๔. ฝึกตนให้เป็นคนมีความอดทนอดกลั้นต่อ
อิฏฐารมณ์และอริฏฐารมณ์ จะต้องฝึกตนเกี่ยวกับการอดทน
ต่ออากัปกิริยาต่าง ๆ ของผู้ฟัง เพราะการพูดทุกครั้ง
ย่อมได้รับปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ฟัง ทั้งทางบวก และทางลบ การหักห้ามอารมณ์
และรู้จักข่มใจตนเอง จึงเป็นสิ่งที่นักพูดต้องฝึกฝนให้ได้
โดยอาศัยหลักในการฝึกฝนดังนี้
๔.๑
ฝึกระงับอารมณ์ต่าง ๆ
๔.๒
ฝึกวางเฉยให้ได้ (อุเบกขา)
๔.๓
ฝึกการไม่ตอบโต้ผู้ฟัง
๔.๔
ฝึกไม่วางโตเหนือผู้ฟัง
๔.๕
ฝึกสร้างพลังใหม่ ๆ
๕. ฝึกการพัฒนาบุคลิกในการพูด
ดร.ประดินันท์ อุปรมัย
ได้แบ่งกลุ่มนักจิตวิทยาที่อธิบายพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็นกลุ่ม ๔
กลุ่ม ตามวิธีการศึกษาทัศนะ คือ
๑. นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์
ซึ่งใช้วิธีการศึกษาบุคลิกภาพของบุคคล
ด้วยการวิเคราะห์จิตของคนไข้โรคจิตเป็นส่วนใหญ่
๒. นักจิตวิทยากลุ่มเน้นลักษณะของบุคคล ซึ่งใช้วิธีศึกษาบุคลิกภาพของบุคคลปกติทั่วไป
โดยเน้นศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นสำคัญ
๓. นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งใช้วิธีศึกษาพฤติกรรมของบุคคล
โดยนำเอาความรู้พื้นฐาน ที่ได้จากการทดลองกับสัตว์ มาประยุกต์ กับการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล
๔. นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม ซึ่งมีความเชื่ออย่างลึกซึ้ง
ในเรื่อง แนวโน้มในการพัฒนาศักยภาพแห่งตน และมีพื้นฐานความเชื่อในปรัชญาอัตภาวนิยม
จากแนวคิดที่นักจิตวิทยาได้ให้ทัศนะในการพัฒนาบุคลิกภาพไว้นี้
ย่อมชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาบุคลิกภาพ จะต้องมีการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และหลาย ๆ วิธี
ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ การพัฒนาบุคลิกภาพ
เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนา
0 ความคิดเห็น: